Learning
log: Types of sentence
1st
September, 2015
ในสัปดาห์ที่แล้วได้มีการศึกษาในเรื่องของ
tense ซึ่งมีความสำคัญมาก
ในการเรียนภาษาอังกฤษเพราะหากเราไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เราจะไม่สามารถเรียนรู้ได้เข้าใจและไม่สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้
เพราะ tense ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ และยังมีโครงสร้างทางภาษาแตกต่างจากภาษาไทยมากจึงทำให้คนไทยเข้าใจในเรื่องนี้ได้ยาก
นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกันที่จำเป็นจะต้องศึกษาให้เข้าใจนั่นคือ
เรื่อง sentences เพราะในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาการแปล
เรามักจะต้องพบเจอประโยคต่างๆมากมายหลายประเภท ทั้ง ประโยคความเดียว (Simple Sentence) ประโยคความรวม
(Compound Sentence) ประโยคความซ้อน (Complex
Sentence) และประโยคความผสม (Compound-Complex Sentence) ซึ่งมีทั้งที่แบบไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย
สามารถตีความหรือแปลความหมายได้เลย และยังมีแบบที่ซับซ้อน ซึ่งมีการรวม clause
ต่างๆเข้าด้วยกันโดยใช้ตัวเชื่อมเข้ามาเชื่อมประโยคทั้งสองหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน
จึงทำให้ประโยคมีความยาวขึ้น และเข้าใจยากขึ้น ทั้งยังยากในการแปลความหมายด้วย แต่หากเราไม่มีความรู้ในเรื่องของรูปประโยคต่าง
ๆ ก็จะไม่สามารถทำให้เราแปลความของบทอ่านเหล่านั้นได้ หรืออาจจะแปลความหมายออกมาผิดๆ
ส่งผลให้ผู้รับสารหรือคนที่เราต้องการสื่อสารด้วยเกิดความเข้าใจผิดได้
ซึ่งเนื้อหาที่ได้ศึกษามาและทำความเข้าใจ มีดังนี้
ประโยค
(Sentences) หมายถึง
กลุ่มคำหรือข้อความที่กล่าวออกมาแล้วมีใจความสมบูรณ์ ประโยคจะประกอบด้วยส่วนใหญ่ 2 ส่วน คือ ภาคประธาน และ ภาคแสดง
1.1 ภาคประธาน (Subject) มีได้หลายรูปแบบ
เช่น
1. เป็นคำนาม เช่น The man walked in the rain.
2. เป็นคำสรรพนาม เช่น He was a policeman.
3. เป็นอนุประโยค เช่น What he described frightened
everybody.
4. เป็น gerund เช่น Writing was
her hobby.
5. เป็น gerund phrase เช่น Working
in the South is dangerous.
6. เป็น infinitive เช่น To
swim is a good exercise.
7. เป็น infinitive phrase เช่น To
escape from the prison seems impossible for him.
1.2 ภาคแสดง (Predicate) จะต้องประกอบด้วยคำกริยา
และมีกรรมที่รวมเรียกว่า Verb Completion หรือ ส่วนขยายที่เรียกว่า Verb Modifiers
1. Verb Completion เช่น
1. Verb Completion เช่น
-
She knows my name.
-
Many people complained a lot about air pollution.
2.
Verb Modifiers เช่น
-
The teacher should speak nicely to the children.
-
Students can be observed in all classrooms.
ประโยค (Sentences) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- ประโยคความเดียว (Simple Sentence)
- ประโยคความรวม (Compound Sentence)
- ประโยคความซ้อน (Complex Sentence)
- ประโยคความผสม (Compound-Complex Sentence)
แต่สำหรับประโยคความเดียว
(Simple Sentence)
นั้นดิฉันมีความเข้าใจในเนื้อหาและรูปแบบของประโยคอยู่แล้ว
สำหรับในวันนี้จึงได้ศึกษาเพียง 3 ประเภท ดังนี้
Compound
Sentence คือประโยคเนื้อความรวม ซึ่งประกอบด้วย
independent clause ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป
โดยแต่ละประโยคก็มีเนื้อความที่สมบูรณ์อยู่แล้ว
ไม่ขึ้นตรงต่อกันและมาอยู่ด้วยกันใน compound sentence และประโยคทั้งสองนี้มีความสำคัญเท่ากัน
ได้โดยมี เครื่องหมายวรรคตอน co-ordinating conjunctions และ conjunctive adverbs เป็นตัวเชื่อมประโยคทั้งสองเข้าด้วย
การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมนำมาใช้เชื่อม
Simple Sentence เพื่อให้เป็น Compound Sentence มีดังต่อไปนี้
Semi- colon (;) ใช้ประโยคในกรณีที่ผู้เขียนยังรู้สึกไม่อยากขึ้นต้นประโยคใหม่
เพราะเห็นว่าใจความยังต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันอยู่
ซึ่งก็เป็นความรู้สึกของผู้เขียนประโยคนั้นเท่านั้น
ผู้เขียนคนอื่นอาจรู้สึกเป็นอย่างอื่น และอาจจะใช้ period (.) แทน semi-colon ขึ้นต้นประโยคใหม่ก็ได้
Example: - Daeng was sick ; he didn’t work
yesterday.
= Daeng was sick.
He didn’t work yesterday.
Colon (:) และ Dash
(-) 2
เครื่องหมายอันนี้ใช้เชื่อมในกรณีที่ผู้เขียนเห็นว่าผลของประโยคหลังมีสาเหตุมาจากประโยคข้างหน้าโดยแท้
เช่นจากตัวอย่างถ้าผู้เขียนเห็นว่า การที่แดงไม่ทำงานเมื่อวานนี้ก็เป็นผลโดยตรงจากการไม่สบาย
ก็อาจใช้ colon หรือ dash มาเชื่อมแทนได้
Example: - Daeng was sick : he didn’t work
yesterday.
หรือ Daeng was sick
- he didn’t work yesterday.
Comma(,) เครื่องหมายอันนี้นิยมใช้เชื่อมในกรณีผู้เขียนเห็นว่า
เหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้นถ้าจะขึ้นต้นประโยคใหม่ก็จะทำให้ขาดความต่อเนื่อง
ทำให้เสียภาพพจน์ของเหตุการณ์จึงจำเป็นต้องใช้ comma เชื่อมเพื่อรักษาความต่อเนื่องเอาไว้
(แทนที่จะขึ้นต้นประโยคใหม่)
การเชื่อมด้วย Co-ordinate
Conjunction
Co-ordinate Conjunction ที่นำมาใช้เชื่อมประโยค แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1. แบบรวม (Cumulative)
ประเภทคำสันธานเสริมหรือคำสันธานร่วม ได้แก่ and และคำที่มีความหมายคล้าย
and (the cumulative and-type) ได้แก่คำต่อไปนี้
and, and......too, and also,
and.....also, and.....as well, as well as, both.....and,
not only.....but also, besides
Examples: - Mary is
tired and hungry.
- Mary
is tired and hungry as well.
*หมายเหตุ ประธาน 2 ตัวที่เชื่อมด้วย both...and จะมีกริยาเป็นพหูพจน์เสมอแต่ถ้าประธาน 2 ตัว
ที่เชื่อมด้วย not only...but also กริยาที่ตามมาจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ โดยให้ถือประธาน
ตัวที่อยู่ใกล้หรืออยู่ติดกับกริยานั้นเป็นหลัก นั่นหมายความว่า ถ้าประธานตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้น
เป็นเอกพจน์ กริยาก็ต้องเป็นรูปเอกพจน์ด้วย แต่ถ้าประธานตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นพหูพจน์ กริยาก็ต้องเป็นรูปพหูพจน์ด้วย และ also จะละไว้ในฐานที่เข้าได้
ที่เชื่อมด้วย not only...but also กริยาที่ตามมาจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ โดยให้ถือประธาน
ตัวที่อยู่ใกล้หรืออยู่ติดกับกริยานั้นเป็นหลัก นั่นหมายความว่า ถ้าประธานตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้น
เป็นเอกพจน์ กริยาก็ต้องเป็นรูปเอกพจน์ด้วย แต่ถ้าประธานตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นพหูพจน์ กริยาก็ต้องเป็นรูปพหูพจน์ด้วย และ also จะละไว้ในฐานที่เข้าได้
2. แบบเลือก (Disjunctive)
ประเภทแสดงให้เห็นถึงการสลับสับเปลี่ยนหรือการเลือก ได้แก่ or
และคำที่มีความหมายคล้าย or (The Disjunctive Or-type) ได้แก่คำต่อไปนี้
or, or else, either.......or, neither.......nor
Examples: - He must go
now, or he will miss the plane.
- Neither
you nor your friend have to go to school on Sunday.
* หมายเหตุ ประธานสองตัวที่เชื่อมด้วย
either..or หรือ neiter...or กริยาที่ตามมาจะเป็นเอกพจน์
หรือพหูพจน์ก็ได้ โดยให้ถือประธานตัวที่อยู่ใกล้หรือตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นหลัก นั่นหมายความว่า ถ้าประธานตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นเอกพจน์ กริยาก็ต้องเป็นรูปเอกพจน์ด้วย แต่ถ้าประธานตัว ที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นพหูพจน์ กริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์ด้วย
หรือพหูพจน์ก็ได้ โดยให้ถือประธานตัวที่อยู่ใกล้หรือตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นหลัก นั่นหมายความว่า ถ้าประธานตัวที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นเอกพจน์ กริยาก็ต้องเป็นรูปเอกพจน์ด้วย แต่ถ้าประธานตัว ที่อยู่ติดกับกริยานั้นเป็นพหูพจน์ กริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์ด้วย
3. แบบแยก (Adversative)
ประเภทแสดงความขัดแย้ง ได้แก่ but และคำที่มีความหมายคล้าย
but (The Adversative But-type) ได้แก่คำต่อไปนี้
but, while, whereas, yet, still
Examples: - She is
very beautiful, but all her sisters are ugly.
- The
pain was bad, still he didn’t complain.
4. แบบเหตุผล (illative)
ประเภทแสดงความซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน ได้แก่ so และคำที่มีความหมายคล้าย so (The illative So-type) ได้แก่คำต่อไปนี้
so, therefore, for, consequently, accordingly
(เฉพาะ therefore, consequently และ accordingly จะต้องใส่เครื่องหมาย semi-colon (;)ข้างหน้า และ comma
(,)ข้างหลัง)
Examples: - It’s time
to go, so let’s start our journey.
- He
was found guilty ; therefore, he was imprisoned.
การเชื่อมด้วย Conjunctive
Adverb
Conjunctive Adverb ที่นำมาใช้เชื่อมประโยค
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ชนิดคำที่มีลักษณะเป็นการเติมเข้าไปเพื่อเน้นให้ผู้อ่านได้ฉุกคิด
หรือเน้นให้เห็นข้อสังเกต ได้แก่
however, moreover, furthermore, consequently, nevertheless, accordingly,
meanwhile, therefore
**หน้าคำจำพวกนี้ใช้ Semi-colon ส่วนหลังคำจำพวกนี้ใช้ comma**
**หน้าคำจำพวกนี้ใช้ Semi-colon ส่วนหลังคำจำพวกนี้ใช้ comma**
- Roy was sick; however, he did go
to school.
- He was tired and thirsty;
moreover, he was cold.
2. ชนิดคำที่มีความหมายเป็น Transitive word (คำที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง) ซึ่งมีความหมายอ่อนลง
จนอาจใช้เสมือน Adverb หรือ Conjunction ธรรมดา ได้แก่
otherwise, thus, still, yet, hence
**หน้าคำจำพวกนี้ใช้ comma คั่น**
Examples: - David was sick, thus he want to see a doctor.
- He
worked very hard, still he didn't complain.
Complex
Sentence คือ ประโยคความซ้อน
ซึ่งประกอบด้วยประโยคหลัก 1 ประโยค และประโยครองหรืออนุประโยคอีกอย่างน้อย 1
ประโยค
ประโยคหลัก (main
clause หรือ independent clause) คือ ประโยคอิสระที่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง
มีประธานและส่วนขยายเป็นของตัวเอง ไม่ขึ้นตรงต่อประโยคอื่น
ประโยครอง (subordinate
clause หรือ dependent clause) คือ
ประโยคที่อาศัยประโยคหลักอยู่ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้
เพราะเนื้อหาของประโยครองเป็นเนื้อหา ที่ใช้ขยายหรืออธิบายประโยคหลัก จะทำหน้าที่
เป็นกรรม, ส่วนขยาย หรือ กริยาเป็นต้น จึงต้องมาอยู่ในประโยคที่มีประโยคหลักอยู่ด้วย
ประโยค complex
sentence มีการใช้ตัวเชื่อมระหว่างประโยค main clause กับ subordinate clause ดังนี้
1. Subordinate
Conjunction ได้แก่ if, as if, since,
because, that, whether, lest, as, before, after, although, while,
till, until, though, unless, so that, than, provided, in
order that, provided that, notwithstanding
2. Relative
Pronoun ได้แก่ who, whom, whose, which, that, as, but, what, of
which
3. Relative
Adverb ได้แก่ when, why, where
การสร้างประโยค Complex
Sentence
Complex Sentence ต้องมีประโยคหลัก
1 ประโยค และมีประโยครองอย่างน้อย 1 ประโยค ซึ่งประโยครองสามารถเป็น
1) Noun
Clause
2) Adjective
Clause
3) Adverb
Clause
ตัวอย่างประโยค Complex
Sentence
- My boss told me that I would be punished.
จากประโยค
complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause
1 ประโยค และประโยค subordinate clause 1 ประโยค
ดังนี้
- my boss told me เป็น main clause
- that I would be punished เป็น subordinate clause ที่เป็นnoun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา told
Complex
Sentence อาจจะมี subordinate
clause มากกว่า1ประโยคก็ได้ ดังเช่น ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
- When
I get there I found that he had gone.
จากประโยค
complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause
1 ประโยค และ ประโยค subordinate clause อีก 2
ประโยค ดังนี้
- I
found เป็น main clause
- when
I get there เป็น subordinate clause ที่เป็น adverb clause ขยายกริยา found ของประโยคหลัก
- that
he had gone เป็น subordinate clause ที่เป็น noun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของ กริยา found
ในประโยคหลัก
ประโยค Complex Sentence ที่เป็น noun clause และ adverb clause นั้น
ดิฉันได้ศึกษาจนเข้าใจหมดแล้ว ในวันนี้จึงต้องการศึกษาเรื่อง adjective
clause เพราะดิฉันยังไม่เข้าใจและยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องจึงได้ศึกษามาดังนี้
Adjective Clause (คุณานุประโยค) คือ
อนุประโยค (subordinate
clause ) ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคุณศัพท์ขยายนามหรือแสดงลักษณะของคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก
(main clause) ปกติแล้ว Adjective Clause จะเชื่อมด้วยสัมพันธ์สรรพนาม และสัมพันธ์วิเศษณ์ โดยที่สัมพันธ์สรรพนามและสัมพันธ์วิเศษณ์นั้น
จะเชื่อมคุณานุประโยคดังกล่าวกับคำนามหรือสรรพนามที่มันขยาย
Main
clause และ subordinate clause
Main clause หรือประโยคหลักคือ ประโยคที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองด้วยการดำรงอยู่โดดๆได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงประโยคอื่น
เช่น She
is the woman. เป็น main clause เพราะสามารถดำรงอยู่โดดๆได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงประโยคอื่น
บางครั้งเราจึงเรียก main clause ว่า independent
clause
ส่วน subordinate clause หรืออนุประโยคคือ
ประโยคที่ใช้ขยายความประโยคหลัก เช่น ขยายความคำนามของประโยคหลัก เป็นต้น Subordinate
clause จึงเป็นประโยคที่ดำรงอยู่โดดๆไม่ได้
ต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับประโยคหลัก เช่น that won the contest last week เป็น subordinate clause เพราะเป็นประโยคที่ใช้ขยายความคำนามของประโยคหลัก
จึงดำรงอยู่โดดๆไม่ได้ ต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับประโยคหลัก บางครั้งเราจึงเรียก subordinate
clause ว่า dependent clause
สัมพันธ์สรรพนาม (Relative Pronouns) เหล่านั้นได้แก่ who, whom, whose, which, that, in which, of which, of whom เป็นต้น
สัมพันธ์วิเศษณ์ (Relative Adverb) เหล่านั้นได้แก่ where, when, why
สัมพันธ์สรรพนาม (Relative Pronouns) เหล่านั้นได้แก่ who, whom, whose, which, that, in which, of which, of whom เป็นต้น
สัมพันธ์วิเศษณ์ (Relative Adverb) เหล่านั้นได้แก่ where, when, why
องค์ประกอบของ adjective clause
Adjective clause แม้จะเป็นอนุประโยค
แต่ก็ถือว่าเป็นประโยคชนิดหนึ่ง ดังนั้น adjective clause อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย 1) ประธาน (subject)
และ 2) ภาคแสดง (predicate)
เสมอ ดังนี้
‘who moved in’ มี who เป็นประธาน และมี moved
in เป็นภาคแสดง
หลักการพื้นฐานของการเกิด adjective clause ที่มี who/which/that
นำหน้า
หลักการพื้นฐานของการเกิด
adjective clause ที่มี who/which/that นำหน้า ก็คือ ‘การที่ประโยค 2
ประโยคมีประธานหรือมีคำนามคำเดียวกัน’ จึงมีการรวมประโยค 2 ประโยคนี้เข้าด้วยกัน
โดยทำให้ประโยคใดประโยคหนึ่งเป็น adjective clause ไปเสีย ตามสถานการณ์การใช้ของเรา
เช่น ประโยค A man who moved
in yesterday is our friend. ก็มาจากประโยค 2 ประโยคดังต่อไปนี้
a) A man is our friend.
b) A man moved in yesterday.
เราจะเห็นได้ว่าทั้งประโยค
a) และ b) มีประธาน A
man คำเดียวกันจึงมีการรวมประโยค
2 ประโยคนี้เข้าด้วยกัน
และตามสถานการณ์การใช้ของเราเราต้องการให้ประโยค b) เป็น adjective
clause เราจึงตัด A
man ที่เป็นประธานในประโยค
b) ออก แล้ว แทนที่ด้วย who เป็น who moved in
yesterday
จากนั้นนำเอา
who moved in yesterday นี้ไปขยายความ A man ในข้อ a) ได้ออกมาเป็น: A
man who moved in yesterday is our friend. นั่นเอง
อนึ่ง
ประโยค a) และ b) นี้เราจะรวมเป็น A
man who is our friend moved in yesterday. ก็ได้
อันขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้ของแต่ละท่าน
หลักการใช้คำสัมพันธ์สรรพนาม (Relative Pronouns)
Relative Pronouns เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกันโดยใช้เชื่อม Adjective Clause (คุณานุประโยค) ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนามหรือคำสรรพนามที่วางอยู่ข้างหน้าของมัน
(1) who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นประธานของใจความขยาย
หมายความว่า who ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นบุคคลกับอนุประโยคที่ใช้ขยายหรือ
แสดงลักษณะของนาม หรือสรรพนามตัวนั้น เช่น
Relative Pronouns เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกันโดยใช้เชื่อม Adjective Clause (คุณานุประโยค) ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนามหรือคำสรรพนามที่วางอยู่ข้างหน้าของมัน
(1) who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นประธานของใจความขยาย
หมายความว่า who ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นบุคคลกับอนุประโยคที่ใช้ขยายหรือ
แสดงลักษณะของนาม หรือสรรพนามตัวนั้น เช่น
- The manager will employ the application who
are bilingual.
- He is the man who can play football
very well.
(2)
whom ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย
หมายความว่า whom ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งเป็นกรรมของอนุประโยคที่มันขยาย
(เป็นกรรมของกริยาของอนุประโยคที่มันขยาย) เช่น
- I saw some on whom you know.
- She is a good girl whom he wants to
marry.
(3)
whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล
หมายความว่า whose ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน
เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทนคำนามหรือคำสรรพนามที่มันขยาย เช่น
- This is the woman whose husband is
a teacher.
- I know a film star whose father is
my friend.
(4)
which ใช้กับคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นสิ่งของ สัตว์
ซึ่งหากเป็นกรรมของใจความขยาย ก็สามารถละทิ้งได้ เช่น
- This
is the house which, belong to my sister.
- The basket which is on the table is
full of rambutans.
(5)
that ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสามารถใช้แทน who, where, which ก็ได้ เช่น
- The robbers that robbed the bank
last week are arrested.
- The bird that is singing belongs to
me.
การใช้ that ในลักษณะพิเศษหรือนอกเหนือจากกฎทั่วไป
1. ใช้กับสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะหรือไม่เจาะจง ( Indefinite Pronouns )
ซึ่งได้แก่ everyone, everybody, everything, someone, somebody, something, anybody, anything, no one, nobody, nothing เช่น
1. ใช้กับสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะหรือไม่เจาะจง ( Indefinite Pronouns )
ซึ่งได้แก่ everyone, everybody, everything, someone, somebody, something, anybody, anything, no one, nobody, nothing เช่น
- Everyone that once sees
Arpassara will be charmed by her beauty.
- No one that loves me as
much as my parents.
2.
นิยมใช้กับนามวลีที่มีโครงสร้างการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดและคุณศัพท์แสดงลำดับที่ เช่น
- He is the best man that I have
known.
- She was the second employee that
was dismissed.
หลักการใช้คำสัมพันธ์วิเศษณ์ (Relative Adverb)
Relative adverb ทำหน้าที่เป็นทั้งคำที่ใช้ขยายความคำนาม
และเป็นวิเศษณ์ของ adjective clause ไปในเวลาเดียวกัน
(1)
where ใช้กับคำนามประเภท สถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความขยายก็สามารถละทิ้งได้ เช่น
- This is the place where is
mortgaged.
- The high building ( where ) he
works had a good security system.
(2)
when ใช้กับคำนามที่บอกเวลา เพื่อขยายความที่อยู่ข้างหน้าของมัน เช่น
- I can't remember the year when I
first met her.
- The time when she gets up every day
is changed when she lives in Canada.
(3)
why ใช้ขยายคำนามที่มีความหมายถึงสาเหตุ เหตุผล คำอธิบาย
ซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน เช่น
- I would like to know the reason why
you are always late.
- The police want to know the cause why
the house was burned.
หลักการใช้ restrictive adjective clause และ non-restrictive
adjective clause
1. Restrictive adjective clause ก็คือ adjective
clause ที่ใช้ระบุคำนามหรือสรรพนามของประโยคหลักว่า
‘เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด’ เช่น
- A man who moved in yesterday is our friend.
ประโยคนี้
‘who moved in yesterday’ คือ ‘restrictive adjective clause’ ที่ใช้ระบุว่า ‘ผู้ชายที่เป็นเพื่อนของเรา คือ
คนที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ไม่ใช่คนที่ย้ายเข้ามาวันอื่น’
หลักการใช้ restrictive
adjective clause
การใช้
restrictive adjective clause นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองว่า adjective
clause ใดควรเป็น restrictive
โดยมีหลักการดังนี้คือ
- ถ้าคนหรือสิ่งของที่เราจะนำเอา adjective clause มาขยายความนั้น
มีหลายคนหรือมีหลายสิ่ง
จนอาจทำให้ผู้ที่รับสื่อจากเราไม่รู้ว่าเป็นคนไหนหรือสิ่งไหน เราก็จะใช้ restrictive
adjective clause มาระบุ ซึ่งจะไม่มี comma
(,) วางไว้หน้า restrictive
adjective clause นั้นๆ
2.
Non-restrictive adjective clause ก็คือ adjective
clause ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเพิ่มข้อมูลให้กับคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก
โดยคำนามหรือคำสรรพนามนี้เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า ‘เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด’ เช่น
- Mr. Pope, who we have just met, is a superstar.
ประโยคนี้เราจะเห็นได้ว่า
‘who we have just met’ เป็น non-restrictive adjective clause ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขยายความ Mr.
Pope เท่านั้น
เพราะผู้รับสื่อจากเราทราบอยู่แล้วว่า Mr. Pope เป็นใคร
หลักการใช้ non-restrictive
adjective clause
non-restrictive
จะเป็น adjective
clause ที่มี comma
(,) วางไว้ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง’ เพื่อให้แตกต่างจาก restrictive
adjective clause อีกโสดหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม non-restrictive
adjective clause บางครั้งอาจมี comma
(,) วางไว้ข้างหน้าเท่านั้น
ดังนี้
- The world number two badminton player is Ratchanok Intanon,
who won World Cup Title at China Open.
และ
non-restrictive นี้ เราไม่สามารถละ relative pronoun (who, which) ที่เป็นกรรมไว้ได้ ต้องใส่ไว้เสมอ
เช่น ประโยค Mr. Pope, who we have just met, is a superstar. ข้างต้น เราต้องคง relative
pronoun คือ who ซึ่งเป็นกรรมของ we
have just met ไว้เสมอ
จะไปตัดออกไม่ได้
Non-restrictive ไม่ใช้ that
นำหน้า คำ relative
pronoun ที่นำหน้า non-restrictive
adjective clause เพื่อใช้ขยายความคำนามของประโยคหลักนี้จะใช้
who กับ which
เท่านั้น
ไม่มีการใช้ that โดยเด็ด
ขาด
***ข้อควรจำ: ผู้ใช้คือผู้กำหนดว่า adjective
clause ใดจะเป็น restrictive
หรือ non-restrictive
การใช้
non-restrictive adjective clause จะใช้เฉพาะในภาษาเขียนเท่านั้น
การใช้ non-restrictive
กับ relative
adverb บางครั้ง เราอาจนำหลักการของ non-restrictive adjective clause ที่ใช้กับ relative
pronoun มาใช้กับ relative
adverb ได้เช่นกัน
โดยเฉพาะกับ where ดังประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
– Put that book into the bookshelf, where it is.
– This is the free English website, where you can learn
English without any fee.
การละ Relative
pronoun ใน Adjective clause
โดยปกติแล้ว Adjective clause จะต้องมีคำ
Relative pronoun นำประโยคของมันเสมอ แต่เราสามารถละ Relative
pronoun ในกรณีดังต่อไปนี้
- มีลักษณะเป็นภาษาพูด (spoken)
หรือภาษาธรรมดา (informal)
- ตัว Relative pronoun เป็น object
ของกริยาหรือบุพบทก็ได้
ตัวอย่าง - The pen I want is on the table.
= The pen that
I want is on the table.
(สามารถละ that เพราะเป็นภาษาพูดและ that เป็นกรรมของ want)
แต่จะไม่สามารถละ Relative
pronoun ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
- คำ Relative pronoun นั้นเป็น subject
ในประโยคของมันเอง
- คำ Relative pronoun อยู่หลัง comma
ตัวอย่าง - ถูก : She is the woman who worked
here yesterday.
- ผิด :
She is the woman worked here yesterday.
การลดรูป adjective clause
คำนำหน้า “who”,
“which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ
adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้
โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม ดังนี้
- Appositive Noun Phrase
- Prepositional Phrase
- Infinitive Phrase
- Participial Phrase
- Appositive Noun Phrase
- Prepositional Phrase
- Infinitive Phrase
- Participial Phrase
Appositive
Noun Phrase
adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive ดังนี้
adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive ดังนี้
- Prof. Chakarin, who is my thesis adviser ,
will retire next year.
= Prof. Chakarin, who
is my thesis adviser , will retire next year.
= Prof. Chakarin, my
thesis adviser , will retire next year.
Prepositional
Phrase
adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
- The lady who is dressed in the national costume
is a beautiful queen.
= The lady who is
dressed in the national costume is a beauty queen.
= The lady in the
national costume is a beauty queen.
ในที่นี้ dressed in the national costume มีความหมายเหมือน in the national costume
Infinitive
Phrase
adjective clause ที่มี who, which และ that
สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป
BE +
infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive
phrase ดังนี้
- He is the first person who is to be blamed for the
violence yesterday.
= He is the first person who
is to be blamed for the violence yesterday.
= He is the first person to
be blamed for the violence yesterday.
Participial
Phrase
1) Present Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
1) Present Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
- The school students who visited the national
museum were very excited.
= The school students who visited
the national museum were very excited.
= The school students visiting
the national museum were very excited.
2) Past Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี which และ who
เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และwho
มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก
เหลือแต่ past participle ดังนี้
- The money which was lost during the trip was
returned to its owner.
= The money which
was lost during the trip was returned to its owner.
= The money lost during
the trip was returned to its owner.
อย่างไรก็ตาม ทั้ง present participial phrase และ past participial phrase สามารถขยายนามโดยนำมาวางไว้หน้าคำนามได้
ดังนี้
- Thailand is a country which exports rice.
- Thailand is a rice-exporting country.
- Thailand is a rice-exporting country.
Compound-Complex
Sentence (ประโยคความรวม + ประโยคความซ้อน) คือ
ประโยคที่ประกอบกับขึ้นระหว่าง Compound Sentence กับประโยค Complex Sentence ธรรมดาๆ ดังนั้น Compound
Complex Sentence จึงประกอบด้วย ประโยคหลัก (Main Clause) ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป และประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate
Clause) อย่างน้อย 1 ประโยค
Example: - While Somsak played the guitar, the boys sang and the girl danced.
Example: - While Somsak played the guitar, the boys sang and the girl danced.
Main clause หรือ Principal
Clause อยู่ 2 ประโยค คือ
-
the boys sang.
- the
girl dance.
และมีประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate Clause) อยู่ 1 ประโยค คือ
- while Somsak played guitar
และมีประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate Clause) อยู่ 1 ประโยค คือ
- while Somsak played guitar
หลังจากที่ได้ศึกษารูปแบบของประโยคต่างๆแล้ว
ทั้งประโยคความเดียว
(Simple Sentence) ประโยคความรวม (Compound Sentence) ประโยคความซ้อน (Complex
Sentence) และประโยคความผสม
(Compound-Complex Sentence) และรวมไปถึงเรื่อง adjective
clause แล้วพบว่า
ประโยคแต่ละรูปแบบมีความยากง่ายและการใช้ที่แตกต่างกันทั้งยังมีข้อจำกัดมากมายที่เราจะต้องจำได้
และยังมีคำเชื่อมต่างๆในประโยคที่มีความซับซ้อนที่เราจะต้องจำความหมายคำเชื่อมเหล่านั้น
เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจำเป็นจะต้องฝึกอ่านบทความ
หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่อต่างๆไว้ให้มาก
เพื่อเราจะได้เห็นประโยคในรูปแบบต่างๆและสามารถวิเคราะห์ประโยคได้ว่าเป็นประโยคประเภทไหน
จุดเด่นของประโยคประเภทนั้นอยู่ตรงไหน เพื่อจะได้มีความเข้าใจมากขึ้นและจะได้ไม่ลืมเรื่องรูปแบบของประโยคต่างๆที่ได้ศึกษามา
และยังรวมไปถึงการฝึกแปลความหมายของบทอ่านต่างๆที่เราได้อ่านด้วย เพื่อจะช่วยพัฒนาทักษะการแปลความไปด้วยเลย
นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องฝึกเขียนประโยคต่างๆบ่อยๆเช่นกัน
เพื่อทดสอบและประเมินตัวเองว่าจากการที่เราได้ศึกษาเรื่องประโยคมาแล้วนั้น
เรามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องหรือไม่ และผู้รับสารสามารถเข้าใจเราได้หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น