การฝึกทักษะการเขียน
ในสัปดาห์ที่แล้ว
ดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่าน โดยเริ่มจากการอ่านเรื่องต่างๆ ดังนี้
บทความเกี่ยวกับสุขภาพเรื่อง six health tips 1 บทความ นิทานเรื่อง The
princess and the pea 1 เรื่อง อ่านข่าวเรื่อง Ultra
violence in Laos sparks warning for football fans และสุดท้ายอ่าน passage
เรื่อง Magnets and Electromagnets แล้วฝึกเติมคำที่เขาได้เว้นไว้เพื่อทดสอบความเข้าใจในการอ่าน
พบว่าดิฉันสามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น และอ่านสื่อต่างๆได้เข้าใจมากขึ้น
ซึ่งสำหรับในสัปดาห์นี้ ดิฉันจึงต้องการฝึกทักษะการเขียน
ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ดิฉันควรได้รับการพัฒนา
เพราะดิฉันเป็นคนที่ไม่เก่งไวยากรณ์ ทำให้ไม่ค่อยชอบเขียนสิ่งต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษ
เพราะกลัวจะผิดไวยากรณ์ และกลัวคนที่เขาเห็นการเขียนของดิฉัน เขาจะเอาไปพูดได้ว่า
เรียนเอกภาษาอังกฤษแต่กลับไม่มีความสามารถในการเขียนและเขียนผิดหลักไวยากรณ์ ทั้งนี้ทั้งนั้น
อาจจะเป็นเพราะดิฉันคิดไปเองก็ได้
แต่ดิฉันก็ยังคงไม่กล้าที่จะเขียนสิ่งต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่ดี
ดิฉันจึงได้รวบรวมความมั่นใจ ความรู้ และวางแผนการฝึกทักษะการเขียน ซึ่งดิฉันได้เริ่มฝึกทักษะการเขียนตั้งแต่วันที่
8-14 กันยายน พ.ศ. 2558 ดังนี้
ในวันที่
8-9 กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียน โดยการโพสต์ข้อความลงบน
Facebook ส่วนตัว โดยที่ในวันที่ 8
ดิฉันได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการทักทายเพื่อนชาวต่างชาติทุกคนที่เป็นเพื่อนกับดิฉันใน
Facebook และการแนะนำตัวของดิฉัน รวมไปถึงการโพสต์ความรู้สึกต่างๆที่ดิฉันกำลังรู้สึกในขณะนั้น
ส่วนในวันที่ 9 ดิฉันได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับความรัก
ซึ่งคนในปัจจุบัน มักจะพบเจอกันง่าย เกิดความรักขึ้นง่าย และเลิกรากันง่ายเช่นกัน
ซึ่งนั่นถือเป็นโทษของเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง
รวมไปถึงการโพสต์เหตุการณ์ในช่วงเวลาต่างๆที่ดิฉันได้ประสบในระหว่างวัน
ซึ่งก่อนที่ดิฉันจะโพสต์ข้อความต่างๆลงไปนั้น ดิฉันได้ตรวจสอบไวยากรณ์เป็นอย่างดี
ทั้งเรื่อง sentence, word order, tense และ
subject-verb agreement นั่นทำให้ดิฉันได้ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับไวยากรณ์และได้รับความรู้ใหม่ที่ดิฉันยังไม่เคยรู้ด้วยเช่นกัน
และยิ่งไปกว่านั้น ดิฉันได้ให้เพื่อนช่วยตรวจสอบข้อความก่อนที่ดิฉันจะโพสต์ด้วย
เพราะเรามักจะมองไม่เห็นข้อผิดพลาดของตนเอง แต่คนอื่นมักมองเห็น มีมีข้อผิดพลาดและได้แก้ไขปรับปรุงแล้ว
ดิฉันจึงได้โพสต์ข้อความออกไป
ในวันที่
10-11 กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียน โดยการเขียนบันทึกประจำวันลงในสมุดบันทึกประจำวันของดิฉัน
ซึ่งโดยปกติแล้วดิฉันก็เขียนบันทึกประจำวันเกือบทุกวันแต่เป็นภาษาไทย แต่ในวันที่ 10 นี้ดิฉันได้เริ่มเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
ซึ่งดิฉันได้เขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่ได้ไปประสบมา การเรียนในวิชาต่างๆ
การทำการบ้าน รวมไปถึงอาหารการกิน ส่วนในวันที่ 11 ดิฉันก็ยังคงเขียนบันทึกประจำวันเป็นภาษาอังกฤษเช่นเดิม
และคิดว่าจะพยายามเขียนเป็นภาษาอังกฤษให้ได้ทุกวันต่อจากนี้ไป
ซึ่งก่อนที่ดิฉันจะเขียนบันทึกลงไปนั้น
ดิฉันได้ตรวจสอบทั้งคำศัพท์และไวยากรณ์เป็นอย่างดี ทั้งเรื่อง sentence,
word order, tense และ subject-verb agreement นั่นทำให้ดิฉันได้รู้คำศัพท์ใหม่ๆมากมาย
ซึ่งเป็นคำที่ง่ายที่เรามักใช้ในชีวิตประจำวันแต่เรากลับลืมไปหรือมองข้ามไป
ทั้งนี้ยังได้ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับไวยากรณ์และได้รับความรู้ใหม่ที่ดิฉันยังไม่เคยรู้ด้วยเช่นกัน
และยิ่งไปกว่านั้น ดิฉันได้ให้เพื่อนช่วยตรวจสอบข้อความก่อนที่ดิฉันจะเขียนอีกด้วย
และยิ่งเราได้เขียนเรื่องใกล้ตัวมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เรามีความสุขและสนุกกับการเขียนมากเท่านั้น
ในวันที่
12-13 กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียน
โดยการอ่านนิทานเรื่อง Rapunzel จาก http://www.eastoftheweb.com/short-stories/UBooks/Rapu.shtml ในวันที่ 12 ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับราพันเซลผู้ซึ่งมีผมที่ยาวมากและถูกแม่มดใจร้ายขังไว้บนหอคอยสูง
เมื่อแม่มดต้องการมาหา ราพันเซลจะปล่อยผมลงมาจากหอคอย แล้วแม่มดจึงปีนขึ้นไป
จนวันหนึ่งมีเจ้าชายองค์หนึ่งมาเห็นเหตุการณ์เข้า จึงแปลงเสียงเป็นแม่มด
ราพันเซลไม่รู้จึงปล่อยผมของเธอลงมา เขาจึงปีนขึ้นไปและได้พบกับราพันเซลและตกหลุมรักเธอ
แม่มดแอบดูเหตุการณ์ทั้งหมดอยู่จึงได้ตัดผมราพันเซลให้สั้นลง
วันต่อมาเจ้าชายมาเรียกราพันเซลอีก และเขาได้ปีนขึ้นไปพบกับแม่มด
เขาตกใจตกลงมาจากหอคอย หนามกุหลาบทิ่มตาทำให้ตาบอด เขาจึงหลงทางอยู่ในป่า แต่แล้ววันหนึ่งเขาได้ยินเสียงของราพันเซล
ราพันเซลเห็นเจ้าชายตาบอดจึงร้องไห้ น้ำตาของเธอทำให้เขาหายจากตาบอด
ทั้งคู่จึงพากันกลับไปเมืองของเจ้าชายและแต่งงานกัน ซึ่งหลังจากนั้น ในวันที่ 13
ดิฉันได้สรุปความจากนิทานที่ได้อ่านนี้โดยการเขียน ดิฉันได้ตรวจสอบทั้งคำศัพท์และไวยากรณ์เป็นอย่างดี
และให้เพื่อนช่วยตรวจดูให้อีกรอบหนึ่ง
ในวันที่
14 กันยายน พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียน
โดยการเขียนเรียงความ เรื่อง My unforgettable childhood memory ซึ่งดิฉันได้เริ่มจากการเขียน outline ซึ่งประกอบไปด้วย
Introduction, Body1, Body2, Body3 และ Conclusion จากนั้นจึงกำหนด topic sentence ซึ่งเป็น main
idea ของแต่ละ paragraph แล้วจึงเพิ่มรายละเอียดต่างๆลงไปในแต่ละ
Body นั่นคือ supporting details แล้วให้เพื่อนช่วยตรวจสอบความถูกต้องของ
outline จากนั้นจึงเริ่มเขียนขยายความ main idea และ supporting
details นั้นๆ ซึ่งทำเป็น draft ที่1 แล้วให้เพื่อนช่วยตรวจสอบทั้งเรื่องของศัพท์และไวยากรณ์ต่างๆ
เมื่อเพื่อนได้แก้ไขมาให้ ดิฉันก็นำไปปรับปรุง โดยการเปิดดูตำราต่างๆ
แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนหรือปรับปรุงสิ่งที่ผิดตามที่เพื่อนได้แก้ไขมาให้ทั้งหมด
หลังจากนั้นจึงได้แก้ไขและเขียนใหม่อีกครั้งเป็น draft ที่2
แล้วให้เพื่อนคนอื่นที่ไม่ใช่คนเดิมช่วยตรวจสอบให้อีกครั้ง
เมื่อเพื่อนได้แก้ไขมาให้ ดิฉันก็นำไปปรับปรุง
และเขียนออกมาเป็นเรียงความที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งในการเขียนเรียงความครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ศึกษาเรื่องไวยากรณ์เพิ่มมากขึ้น
จากการฝึกทักษะการเขียนตั้งแต่วันที่
8-14 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยดิฉันได้เขียนเรื่องราวต่างๆ
ดังนี้
การโพสต์ข้อความลงบน
Facebook ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่ได้ประสบมาและการทักทายเพื่อนชาวต่างชาติ
โดยการเขียนบันทึกประจำวัน การเขียนสรุปความจากนิทานเรื่อง
Rapunzel และการเขียนเรียงความเรื่อง My
unforgettable childhood memory
ซึ่งจากการฝึกทักษะด้วยวิธีการต่างๆเหล่านี้
ทำให้ดิฉันสามารถพัฒนาทักษะการเขียนได้ดีขึ้น
ซึ่งเน้นไปในเรื่องของคำศัพท์และไวยากรณ์ต่างๆ ทั้งเรื่อง sentence, word
order, tense และ subject-verb agreement นั่นทำให้ดิฉันได้ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับไวยากรณ์และได้รับความรู้ใหม่ที่ดิฉันยังไม่เคยรู้ด้วยเช่นกัน
ทำให้ดิฉันมีความเข้าใจและสามารถใช้ไวยากรณ์ในทักษะการเขียนนี้ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ดิฉันยังได้ทบทวนการฝึกทักษะการอ่านไปในตัวด้วยเช่นกัน
และยังทำให้ดิฉันเป็นคนที่มีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น
เพราะเราต้องมีความละเอียดในการเขียน
แม้เพียงเรื่องน้อยนิดก็ไม่สามารถมองข้ามไปได้เลย
ซึ่งจากการฝึกทักษะการเขียนในครั้งนี้ทำให้ดิฉันมีความสุขในการเขียนสิ่งต่างๆเป็นภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น