Learning log
(18th August, 2015)
Learning log
ในการเรียนภาษาอังกฤษ
ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานทางภาษาเป็นอย่างมาก
เพราะเนื้อหาทางภาษาอังกฤษค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน
เพราะโครงสร้างทางภาษาอังกฤษแตกต่างจากภาษาไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการศึกษาภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ภาษาอังกฤษยังเป็นวิชาที่ต้องใช้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป นั่นคือ
ผู้เรียนต้องมีความรู้ทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษคือ
ศัพท์และไวยากรณ์ และยังประกอบไปด้วย structure , meaning และ phonology และผู้เรียนยังต้องมีทักษะทางภาษา คือ
การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ในภาคทฤษฎีไปใช้ได้ แต่สิ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุดสำหรับคนไทย
คือ tense (กาล) เพราะในโครงสร้างทางภาษาอังกฤษ
กริยาของประโยคจะเปลี่ยนไปตามกาลและประธานของประโยค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีในภาษาไทย
ดังนั้น การจะศึกษาภาษาอังกฤษให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และสามารถแปลความหมายของภาษาอังกฤษได้ถูกต้องตรงตามโครงสร้างภาษาเดิมนั้น
ผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ tense ให้ถูกต้องแม่นยำ
เพื่อการนำไปใช้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
Tense คือ
รูปกริยาที่แสดงให้เราทราบว่า การกระทำต่างๆ หรือเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด
โดยที่รูปกริยาจะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
Tense แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ใหญ่ๆ
ดังนี้ คือ
-
Present
Tense = ปัจจุบันกาล (รูปกริยาที่เป็นปัจจุบัน)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
-
Past
Tense = อดีตกาล (รูปกริยาที่เป็นอดีต) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
-
Future
Tense = อนาคตกาล (รูปกริยาที่เป็นอนาคต)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งในแต่ละ
Tense ใหญ่ จะมี Tense ย่อย อีก 4 Tense ดังนี้
-
____________________
Simple ธรรมดาหรือง่ายๆ
-
____________________ Continuous/Progressive กำลังกระทำ
-
____________________ Perfect สมบูรณ์
-
____________________ Perfect Continuous/Progressive สมบูรณ์กำลังกระทำ
สรุปได้ว่า
Tense ทั้งหมดมี 12 Tense ซึ่งมีโครงสร้าง หลักการใช้
และข้อจำกัดต่างๆ ดังต่อไปนี้
Present Simple Tense
คือ ประโยคที่เป็นปัจจุบัน
ใช้แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือเป็นความจริงเสมอตามปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + V1 (verb1)+…
Subject คือ
ประธานของประโยค ซึ่งประกอบไปด้วย *
ประธานเอกพจน์บุรุษที่ 1 และ 2
*
ประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3
*
ประธานพหูพจน์
verb1 คือ
กริยาช่องที่ 1 ซึ่งกริยานี้จะผันไปตามประธานของประโยค ดังนี้
* ประธานเอกพจน์บุรุษที่ 1 และ 2 จะใช้กริยาช่องที่ 1 ไม่เติม –s หรือ –es
* ประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 จะใช้กริยาช่องที่ 1 เติม –s หรือ
–es
* ประธานพหูพจน์ จะใช้กริยาช่องที่ 1 ไม่เติม –s หรือ –es
กฎการเติม –s และ –es หลังกริยาช่องที่ 1
- เติม -s ได้ทันที่หลังคำกริยาปกติทั่วๆ ไป
- เติม -es หลังคำกริยาที่ลงท้ายด้วย
s , ss , sh , ch , x , z และ o
- คำกริยาที่ลงท้ายด้วย
y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม -es
** ยกเว้น ถ้าหน้า y เป็นสระ ( a , e , i , o
, u ) ให้เติม s ได้เลย
หลักการใช้ Present Simple Tense
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นปกตินิสัยหรือเกิดขึ้นเป็นประจำ
ซึ่งมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverbs of Time) และคำกริยาวิเศษณ์ที่แสดงความถี่
(Adverbs of Frequency) มาช่วยในการแสดงความถี่ของการกระทำรวมอยู่ในประโยคด้วย
เช่น every day, every year, always, often,
sometimes, once a day, twice a day etc.
Examples
: - Nus speaks
English every day.
- Nee studies German once a week.
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่
เป็นความจริงตลอดไป (fact) หรือ เป็นกฎทางธรรมชาติ (natural
law) โดยไม่จำเป็นว่าการกระทำนั้นๆ กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดหรือไม่
Examples
: - Chili is hot.
- The earth moves round the sun.
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
โดยได้วางแผนล่วงหน้าไว้แล้ว ตามกฎข้อนี้แล้ว
ส่วนใหญ่จะใช้กับการเดินทางมากกว่าและมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลารวมอยู่ในประโยคด้วย
เพื่อแสดงถึงเวลาในอนาคต
Examples
: - The
ship leaves for Phuket at 8.00 in the
morning.
- She reaches Hong Kong on Wednesday morning.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงหรือเป็นคำที่เชื่อถือของคนทั่วไปตามคติพจน์
คำสุภาษิต สุนทรพจน์ คำพังเพย หรือคำโบราณที่พร่ำสอนกันมา
Examples
: - Time
and tide waits for no one.
- No one is too old to learn.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับความรู้สึก
อารมณ์ ภาวะจิตใจ
และคำกริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของและกริยาจะต้องอยู่ในรูปกริยาช่องที่ 1 เท่านั้น
Examples
: - Prenee likes cat.
- I love you.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องราวในอดีตแต่เรานำเหตุการณ์นั้นมาเล่าเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
ราวกับว่าเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน
Example
: - The
Buddha says “Do not do any evil. Do all the
good. Purify one’s mind.”
- ใช้กับประโยคที่มี Adverbs
Clause of Time ที่ขึ้นต้นด้วย when, before, till ,as soon
as ,after ,until
Examples
: - Let’s wait till the rain
stops.
- When
she get sick, she throws
up.
- ใช้กับประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Here
หรือ There
Examples
: - Here come the bus.
- There goes my friend.
- ใช้กับประโยค If -Clause
(Adverbs Clause of Condition) ในเงื่อนไขที่เป็นไปได้
Examples
: - If you are tired, you can sit down.
- I shall come unless it rains.
Present Continuous Tense คือ ประโยคที่แสดงการกระทำที่กำลังทำในปัจจุบัน หรือในขณะที่พูด
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + V to be (is,am,are) + V-ing +…
การใช้ is,am,are ใน Present
Continuous Tense * I ใช้ am
*
You, We, They ใช้ are
*
He, She, It ใช้ is
กฎการเติม –ing ใน Present
Continuous Tense
- คำกริยาที่ลงท้ายด้วย “e” ให้ตัด “e” ทิ้ง แล้วเติม -ing ตามหลัง
**
ยกเว้น - -e ที่อยู่หลัง
age, dye และ singe ให้เติม –ing ได้เลย
- คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ee ให้เติม
–ing ได้เลย
- กริยาที่มีพยางค์เดียว
มีสระตัวเดียว และมีตัวสะกดตัวเดียว ให้เติมตัวสะกดอีกตัว แล้วเติม –ing
*** หมายเหตุ กริยาที่มีสองพยางค์หรือมากกว่า
ซึ่งพยางค์สุดท้ายมีสระตัวเดียว และมีตัวสะกดตัวเดียว และออกเสียงหนักที่พยางค์ท้าย
ให้เติมตัวสะกดอีกตัว ก่อนเติม –ing แต่ถ้าไม่ออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์ท้ายให้เติม
–ing ได้เลย
- คำกริยาที่ลงท้ายด้วย
l และหน้า l เป็นสระตัวเดียว
ถ้าเป็นอังกฤษแบบอังกฤษให้เติม l อีกตัว แล้วเติม –ing แต่ถ้าเป็นอังกฤษแบบอเมริกันไม่ต้องเพิ่ม l
- คำกริยาที่ลงท้ายด้วย
y เติม –ing ได้เลย
- คำกริยาที่ลงท้ายด้วย
ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y เติม –ing ได้เลย
หลักการใช้ Present Continuous Tense
-
ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด ซึ่งมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverbs of Time) แสดงอยู่
Examples
: - The baby
is sleeping now.
- I am driving carefully at the moment.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
ซึ่งมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverbs of Time)
บ่งบอกถึงการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกนั้น
Examples
: - My boss
is working late every night.
- My grandmother
is always complaining.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น
โดยมีเครื่องหมาย ! ปรากฏอยู่
Examples
: - Look!
It’s snowing.
- Listen!
The baby is crying.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตามวัน
เวลาที่กำหนด หรือตามที่ตั้งใจไว้
Examples
: - The
flower are coming out soon.
- Mike is lunching at his mother’s house today.
- ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์หนึ่งกับอีกเหตุการณ์หนึ่งในปัจจุบัน
-
เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ ใช้ Present
Continuous Tense
-
อีกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ในเวลาเดียวกัน ใช้ Present
Continuous Tense
Examples
: - He is writing while I am
reading.
- It is raining while I am
sitting under the tree.
-
ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์หนึ่งกับอีกเหตุการณ์หนึ่งในปัจจุบัน
- เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ ใช้ Present Continuous Tense
- อีกเหตุการณ์หนึ่งแทรกเข้ามา ใช้ Present Simple Tense
Examples
: - He is writing when I enter
the room.
- As I am doing my homework, Paul arrives.
กริยาที่ไม่สามารถใช้ในรูป Present Continuous
Tense ได้
- Verb to be ที่ทำหน้าที่เป็นกริยาหลักของประโยค
-
กริยาเกี่ยวกับการรับรู้ ความรู้สึกทางใจ adore, dislike, feel, hate, hear,
look, love, observe, prefer, small, taste etc.
- กริยาที่แสดงความรู้
ความเชื่อถือ ความคิดเห็น ความสงสัย ความสมมติ agree,
assume, believe, consider, doubt, expect, recall, know etc.
- กริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ belong to, owe, own, possess
-
กริยาอื่นๆ บางตัว concern, consist
of, contain, fit, hold, keep, matter, suit
Present Perfect Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + Verb to have (have,has)
+ V3 +…
การใช้ Verb to have ใน Present Perfect Tense *
I, You, We, They ใช้ have
*
He, She, It ใช้ has
หลักการใช้ Present Perfect Tense
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปแล้ว
แต่ยังคงเห็นผลของการกระทำต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
Examples
: - He has bought a new car.
- I have switched the light on.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและอาจจะดำเนินต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
โดยในประโยคมักจะปรากฏคำหรือกลุ่มคำเหล่านี้ในประโยค
since, for, ever, so far, up to now, up to the present time, over
and over, many times etc.
Examples
: - I have
been in London since this morning.
- He has lived in my house for over a year.
- ใช้ย้ำถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งสิ้นสุดลง
มักปรากฏคำวิเศษณ์เหล่านี้อยู่ just, already, yet, lately, recently, at
last, finally, eventually
Examples
: - The doctor has just arrived.
- He has finally learned
our secret.
Present Perfect Continuous Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + Verb to have (have,has)
+ been + V-ing +…
หลักการใช้ Present Perfect Continuous Tense
- ใช้ย้ำถึงเหตุการณ์ที่เกิดติดต่อกันตลอดเวลาในอดีต
(ขณะที่พูดนั้นกำลังทำอาการนั้นอยู่และทำมานานแล้ว)
และเหตุการณ์ดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หรือยังคงเห็นผลของการกระทำต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
Examples
: - She has been reading Shakespear recently.
- I am afraid he
has been drinking.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและเน้นความต่อเนื่องว่าจะดำเนินต่อไปในอนาคต
Examples
: - Joey has been living in Japan since 1995.
- Mike and I have been working for ten hours.
Past Simple Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + V2 (verb2)+…
กฎการเติม –ed หลังคำกริยาช่องที่ 2
- กริยาที่ลงท้าย ด้วย y
และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ed
- กริยาที่ลงท้าย ด้วย y
แต่หน้า y เป็นสระ (a/e/i/o/u) ใหเติม ed ได้เลย
- กริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้เติม d ได้เลย
- กริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระ(a/e/i/o/u)ตัวเดียว
และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed
- กริยาที่มี 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้น มีสระ(a/e/i/o/u)ตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียว
ให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed
**ข้อยกเว้น ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก
ไม่ต้องเติมพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา
- นอกจากกฎที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
เมื่อต้องการให้เป็นช่อง 2 ให้เติม ed ได้เลย
- คำบางคำสามารถเป็นได้ทั้ง regular
verbs และ irregular verbs เช่น
burn -> burned หรือ burnt
,dream -> dreamed หรือ dreamt, lean -> leaned หรือ leant
learn -> learned หรือ learnt,
smell-> smelled หรือ smelt, spell -> spelled หรือ spelt
spill -> spilled หรือ split
หลักการใช้ Past Simple Tense
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและก็สิ้นสุดลงไปแล้ว
ไม่ได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverbs
of Time) เป็นตัวบ่งบอกเวลาในอดีต
yesterday, last day, last night, last week, … year ago, the day before
yesterday etc.
Examples
: - I
wrote a letter yesterday.
- She saw an accident the other day.
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นปกตินิสัยหรือเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต
Example
: - She usually
went to the cinema at the weekend last year.
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นในอดีต
Examples
: - Columbus
discovered America in 1492.
- Shakespear was born in 1564.
- ใช้แทนประโยค Present
Simple เมื่อนำประโยค Direct Speech มาดัดแปลงเป็น
Indirect Speech
Example
: - Direct
Speech : She said “I love you.”
- Indirect
Speech : She said that she loved me.
- ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต โดยเชื่อมด้วย when
Examples
: - I stood
under a big tree when it began to
rain.
- When
she dropped a plate, it was
broken.
**หมายเหตุ : เมื่อใช้
when เชื่อม ประโยคที่ตามหลัง when
จะเกิดขึ้นก่อนเสมอสำหรับเหตุการณ์ใน Past Simple นี้
Past Continuous Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + V to be (was, were)
+ V-ing +…
หลักการใช้ Past Continuous Tense
- ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่
ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตที่ได้ระบุเวลาไว้อย่างชัดเจน
Examples
: - I was
staying at home at this time yesterday.
- At this time last
year
my sons were living in USA.
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่บ่อยๆในอดีต
Examples
: - He was
always playing football in the evening.
- She was often going
to the cinema at the weekend.
- ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลาเดียวกันในอดีต
มักมีคำเชื่อม while หรือ as
-
เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ ใช้ Past Continuous Tense
-
อีกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ในเวลาเดียวกัน ใช้ Past Continuous Tense
Examples
: - While she was cooking, her husband was
taking a bath.
- He was repairing his car as I was having dinner.
-
ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์หนึ่งกับอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
โดยมีเหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ และมีอีกเหตุการณ์หนึ่งแทรกเข้ามา
-
เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ ใช้ Past
Continuous Tense
-
อีกเหตุการณ์หนึ่งแทรกเข้ามา ใช้ Past
Simple Tense
Examples
: - I saw
her as she was getting off the bus.
- They fell asleep while they were
studying their lessons.
Past Perfect Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + had + V3 +…
หลักการใช้ Past Perfect Tense
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปแล้วในอดีตก่อนหน้านี้
Examples
: - I had
seen the show once before.
- The child had never been to a circus.
-
ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและอาจจะดำเนินต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
โดยในประโยคมักจะปรากฏคำหรือกลุ่มคำเหล่านี้ในประโยค
since, for, ever, so far, up to now, up to the present time, over
and over, many times etc.
Examples
: - I had
been in London since this morning.
- He had lived in my house for over a year.
-
ใช้ย้ำถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งสิ้นสุดลง มักปรากฏคำวิเศษณ์เหล่านี้อยู่ just, already, yet,
lately, recently, at last, finally, eventually
Examples
: - The doctor had just arrived.
- He had finally learned our
secret.
- ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้วในอดีต โดยเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่ง
-
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ใช้ Past Perfect Tense
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลัง ใช้ Past Simple Tense
มักมีคำเชื่อม
คือ before, after, until, as soon as,
when
Examples
: - She had
wanted to get a degree before she married
him.
- After we had had tea, the discussion began.
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เปลี่ยนจากประโยค
Past Simple ในรูปของ Direct Speech มาเป็น
Past Perfect ในรูปของ
Indirect Speech
Example
: - Direct Speech : He said “I saw
a film star yesterday.”
- Indirect
Speech : He said that he had seen a film star the day
before.
Past Perfect Continuous Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + had + been + V-ing +…
หลักการใช้ Past Perfect Continuous Tense
- ใช้เน้นช่วงเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอดีตก่อนจะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นตามมา
-
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนอย่างต่อเนื่อง
ใช้ Past Perfect Continuous Tense
-
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาทีหลัง ใช้ Past Simple Tense
มักมีคำเชื่อม
คือ before, after, until, as soon as, when
Examples
: - The police had been looking for the criminal for 2 years before
they caught him.
-
Her eyes were red because she had been crying.
- ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต
Examples
: - He had
been working hard for months.
-
He had not been sleeping well for hours.
Future Simple Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + will/shall + V1 +…
หลักการใช้ Future Simple Tense
- ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยทั่วไป
ซึ่งผู้พูดคิด คาดหวัง หรือคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น มักมี Adverb of Time บอกเวลาในอนาคต
next time, next week, next
month, next year, tomorrow, tonight, later, soon, afterwards, immediately
Examples
: - Dam will
come here next week.
- Duang will tell me the truth soon.
การใช้ will/shall
- will จะใช้กับประธานทุกตัวยกเว้น
I, We แต่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการกระทำหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้น
เกิดจากความตั้งใจและการวางแผนของผู้พูด โดยเหตุการณ์จะเกิดขึ้นแน่นอน
- shall จะใช้กับประธาน I,
We แต่ shall มักจะใช้เป็นทางการมากกว่า
ถ้าใช้ shall เพื่อความตั้งใจหรือการตัดสินใจอย่างแน่วแน่
จะใช้กับประธานที่เป็นอะไรก็ได้โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย และคดีความ
ความแตกต่างของ will, shall และ be
going to
- will และ shall ใช้ได้ทั้งเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นโดยความตั้งใจและโดยธรรมชาติ
- be going to ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นจากการวางแผนล่วงหน้าไว้เป็นอย่างดี
-
ใช้กับประโยคที่แสดงการขอร้องหรือขออนุญาต
Examples
: - Will
you please help my sister?
- Will you
please be quiet?
- ใช้กับประโยคแสดงอนาคตที่ประกอบด้วย
2 เหตุการณ์ ในรูปของ main clause และ subordinate
clause
-
เหตุการณ์ที่อยู่ใน main clause ใช้ Future Simple Tense
-
เหตุการณ์ที่อยู่ใน subordinate
clause ใช้ Present Simple Tense หรือ Present
Perfect Tense
มักมีคำเชื่อม
คือ before, after, until, as soon as, when
Examples
: - I shall never stop loving you until I die.
- He will visit you after he has
had something to eat.
- ใช้กับประโยคแสดงเงื่อนไขที่เป็นไปได้ในอนาคต
If + Present Simple Tense, Future
Simple Tense
Future Simple
Tense +
if + Present Simple Tense
Examples
: - If she
comes tomorrow, she will see me.
-
She will join us if you
let her come.
Future Continuous Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + will/shall + be + V-ing +…
หลักการใช้ Future Continuous Tense
- ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในอนาคต
ตามเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
Examples
: - At
this time tomorrow my father will be flying to
Paris.
- Michael will be living in Thailand at this time next year.
- ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตที่มีการวางแผนหรือตัดสินใจไว้ว่าจะทำในอนาคต
Examples
: - I will
be playing tennis at 10 a.m. tomorrow.
- I shall be working all day tomorrow.
- ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ใช้ Future Continuous Tense
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลัง ใช้ Present Simple Tense
Example
: - She will be working, when I go to
see her at 10 a.m. tomorrow.
Future Perfect Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + will/shall + have + V3 +…
หลักการใช้ Future Perfect Tense
- ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและเสร็จสิ้นลงในอนาคต
ณ เวลาที่กำหนดแน่นอน ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในประโยค จะมี Adverb of
Time ที่เริ่มต้นด้วย by… อยู่ร่วมด้วย
Examples
: - By
the end of this month he will have been here
for three years.
- I shall have finished my work by ten o’clock tonight.
- ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต เหตุการณ์หนึ่งจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
ก่อนที่อีกเหตุการณ์จะเกิดตามมา
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ใช้ Future Perfect Tense
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมา ใช้ Present Simple Tense
Examples
: - When he arrives tomorrow, I will
have left home.
- The film will have started before we reach
the theater.
Future Perfect Continuous Tense
โครงสร้างของประโยค
S(subject) + will/shall + have + been + V-ing +…
หลักการใช้ Future Perfect Continuous Tense
- ใช้กับเหตุการณ์ที่เน้นความต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการหยุดเว้นระยะของการกระทำ
มี Adverb of Time ที่เริ่มต้นด้วย by… อยู่ร่วมด้วย
Examples
: - By
eight o’clock I shall have been waiting for
you for two hours.
- By 2015
we will have been living in Bangkok for ten years.
จากการศึกษาเรื่อง tense แล้วพบว่า tense มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เพราะ tense ถือเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา
และการนำทักษะทางภาษาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เพราะหากเราไม่มีความรู้เรื่องหลักไวยากรณ์
เราจะไม่สามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้ถูกต้อง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเรื่อง tense เป็นเรื่องที่เป็นปัญหามากที่สุดสำหรับคนไทย เพราะภาษาอังกฤษมีโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างจากภาษาไทยมาก
และมีรูปแบบมากถึง 12 รูปแบบ ซึ่งยากต่อการจำ
ดังนั้นการที่เราจะสามารถจำ tense ทั้งหมดนี้ได้นั้น
เราจำเป็นต้องนำความรู้นี้ไปใช้บ่อยๆ และฝึกเรียนรู้ไปทีละ tense ก่อน เมื่อรู้ tense หนึ่งแล้วเราจะสามารถนำไปต่อยอดสู่การเรียนรู้
tense อื่นๆได้ ซึ่งการจะฝึกการจำให้สามารถจำได้ทั้งหมดนั้น
เราจำเป็นจะต้องนำไปใช้บ่อยๆ แต่สภาพแวดล้อมในประเทศไทยไม่เอื้อต่อการฝึกทักษะเหล่านี้
เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังคงไม่เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ดังนั้นในการเรียนภาษาอังกฤษ
เราจึงจำเป็นต้องพึ่งพาตนเอง มีความพยาม และหัดฝึกฝนให้มากที่สุด โดยการหัดพูดบ่อยๆ
อาจจะพูดประโยคสั้นๆ ออกเสียงให้ถูกต้อง ใช้สำเนียงให้ถูกต้อง โดยอาจดูจาก Youtube
หัดอ่านประโยคสั้นๆแล้ววิเคราะห์รูปประโยคบ่อยๆ และหัดเขียน
โดยอาจเริ่มจากการเขียนบันทึกประจำวันในแต่ละวันบ่อยๆ และรวมไปถึงการฝึกทำแบบฝึกหัด
ก็จะทำให้เราสามารถเป็นคนที่เก่งภาษาอังกฤษได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น