วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log : Eighth 6th October, 2015



Learning log : Eighth
6th October, 2015

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่ได้มีการศึกษาเรื่อง If Clauses หรือ Conditional Sentences แล้วพบว่า If Clauses หรือ Conditional Sentences คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (conditions) หรือการสมมุติ ซึ่งสามารถแบ่งออกไปเป็น 3 ประเภท คือ type one คือ การสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ (possible condition) type two คือ การสมมติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย (doubt) แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (impossible condition) และ type three คือ การสมมติในอดีต แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต ซึ่งดิฉันพบว่า ดิฉันมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้นพอสมควรและพอที่จะสามารถนำความรู้เรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ในการแปลความหมายของประโยคซึ่งมีรูปแบบตาม If Clauses ได้ แต่หลังจากที่ดิฉันได้ศึกษาอย่างดีแล้วพบว่า clause สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ independent clause ซึ่งสามารถอยู่ได้อย่างอิสระด้วยตนเอง และ dependent clause ซึ่งไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระด้วยตนเอง ต้องอาศัย independent clause เสมอ ทั้งนี้ dependent clause ประกอบไปด้วย noun clause, adjective clause และ adverb clause ซึ่งสำหรับในส่วนของ adjective clause ดิฉันได้ทำการศึกษาไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ ดิฉันต้องการศึกษาเรื่อง noun clause เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากขึ้น และเพื่อพัฒนาทักษะการแปลของดิฉันอีกด้วย เพราะถึงแม้ดิฉันจะพอมีความรู้เรื่องนี้อยู่แล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ยังไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ ซึ่งเนื้อหาที่ได้ศึกษามาและทำความเข้าใจ มีดังนี้

การศึกษานอกห้องเรียน (29th September, 2015)



การฝึกทักษะการอ่าน2

ในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ฝึกทักษะการพูด โดยเริ่มจากการฝึกโดยการฟังและพูดตามบทสนทนาต่างๆ ผ่าน Youtube ทั้ง 3 วิดีโอ ดังนี้ คือ ในวันที่ 22-23 ได้ฝึกด้วยวิดีโอ Spoken English Leaning Video Spoken English Tutorial English Conversation ในวันที่ 24-25 ได้ฝึกด้วยวิดีโอ Listening English Conversation With Subtitle - Learn English Listening  และในวันที่ 26-27 ได้ฝึกด้วยวิดีโอ English Conversation Learn English Speaking English Subtitles Lesson 03 ส่วนในวันที่ 28 ได้ฝึกพูดกับเพื่อนและพูดกับตัวเอง พบว่าดิฉันสามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น มีความมั่นใจในการพูดมากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งดีกว่าการฝึกพูดในรอบที่แล้ว และไม่เขินอายอีกต่อไป ถึงแม้ว่าจะไม่คล่องแคล่วและชำนาญเหมือนเจ้าของภาษาแต่ก็มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ไม่เพียงแต่ทักษะการพูดเท่านั้นที่ดิฉันยังมีปัญหาอยู่ เพราะดิฉันคิดว่าทักษะการอ่านของดิฉันยังต้องได้รับการปรับปรุงเช่นกัน เพราะดิฉันได้สังเกตจากเพื่อนๆ ในตอนที่อาจารย์ในรายวิชาวรรณคดีภาษอังกฤษได้ให้เพื่อนไปนำเสนอบทเรียนโดยการแปลบทเรียนจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยนั้น เพื่อนๆสามารถแปลได้ถูกต้องเกือบสมบูรณ์ นั่นแสดงว่า เพื่อนๆมีทักษะการอ่านที่ดี แปลความหมายได้เข้าใจลึกซึ้ง และยังสามารถถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นเข้าใจได้ แต่ดิฉันกลับยังแปลความหมายเหล่านั้นไม่แตก ยังแปลไปผิดทาง นั่นหมายถึงว่า ดิฉันยังอ่านไม่ค่อยเข้าใจ และถ่ายทอดสิ่งที่อ่านออกมาได้ไม่ดีนัก จากปัญหาข้างต้นนั้นทำให้ดิฉันจึงต้องการพัฒนาและฝึกทักษะการอ่านของดิฉันให้ดีขึ้น ซึ่งดิฉันได้เริ่มฝึกทักษะการอ่านตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ดังนี้

Learning log : Seventh 22nd September, 2015



Learning log : Seventh
22nd September, 2015

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่ได้มีการศึกษาเรื่องชนิดของ  sentence แล้วพบว่า sentence มี 4 ชนิด ดังนี้ คือ ประโยคความเดียว (Simple Sentence) ประโยคความรวม (Compound Sentence) ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) และประโยคความผสม (Compound-Complex Sentence) ซึ่งถือว่ารูปแบบประโยคทั้ง 4 นี้มีความสำคัญยิ่งในการศึกษาภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และยังรวมไปถึงการแปลความหมายของรูปประโยคต่างๆ เพราะหากเราไม่มีความรู้ในเรื่องของรูปประโยคต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถทำให้เราแปลความของบทอ่านเหล่านั้นได้ หรืออาจจะแปลความหมายออกมาผิดๆ หรือไม่สามารถนำไปใช้ได้ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้รับสารหรือคนที่เราต้องการสื่อสารด้วยเกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้น ในการศึกษาภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาแม่นั้น เราจะต้องมีการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และละเอียดถี่ถ้วน ต้องมีความพยายามสูง และต้องมีความแม่นยำในการนำไปใช้ด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษผ่านทักษะต่างๆและการศึกษาหาข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมอยู่เสมอเช่นกัน ซึ่งในสัปดาห์นี้จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง If Clauses หรือ Conditional Sentences ซึ่งเป็นประโยคอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญมากและเรามักจะพบเจอบ่อยๆ ซึ่งเนื้อหาที่ได้ศึกษามาและทำความเข้าใจ มีดังนี้

การศึกษานอกห้องเรียน (22nd September, 2015)



การฝึกทักษะการพูด2

ในสัปดาห์ที่แล้วดิฉันได้กลับไปฝึกทบทวนทักษะการฟังอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถือว่ามีการพัฒนาทักษะได้ดีขึ้น ดิฉันสามารถฟังได้เข้าใจมากขึ้น สามารถจับประเด็นใจความสำคัญของสิ่งที่ฟังได้ดีขึ้น และยังสามารถตอบคำถามจากสิ่งที่ฟังได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ การฝึกทักษะในครั้งนี้ยังทำให้ดิฉันได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปกับการทำในสิ่งที่ไร้สาระ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในการฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งนั้น จะต้องได้รับการต่อยอดและการทำการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจึงจะเกิดความชำนาญและประสบความสำเร็จ ดังนั้นในสัปดาห์นี้ดิฉันก็จะฝึกฝนเกี่ยวกับทักษะการพูด เพราะในการฝึกทักษะการพูดนั้น เราจะได้ใช้ทักษะการฟังด้วย นั่นคือได้ฝึกทักษะทั้ง 2 ควบคู่กันไปในครั้งเดียว ยิ่งไปกว่านั้น ทักษะการพูดยังเป็นทักษะในการสื่อสารที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย สะดวกและเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะทำให้การสื่อสารนั้นรวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งการที่เราสามารถพูดได้ดี คล่องแคล่ว และออกเสียงได้ถูกต้อง ชัดเจนทุกคำพูดนั้น จะสามารถทำให้ผู้ฟังหรือผู้ร่วมสนทนาสามารถพูดและสื่อสารกับเราได้ดี สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้เป็นอย่างมาก  แต่ถ้าหากเราพูดผิดเพี้ยน หรือพูดตะกุกตะกักก็จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้ร่วมสนทนากับเราเกิดความเบื่อหน่าย และไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด ก็จะทำให้การสนทนาหรือการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งทักษะการพูดที่ดีเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นกับตัวของดิฉัน ดิฉันจึงได้เริ่มฝึกทักษะการพูด ตั้งแต่วันที่ 22-28 กันยายน พ.ศ.2558 ดังนี้