วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log : Seventh 22nd September, 2015



Learning log : Seventh
22nd September, 2015

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่ได้มีการศึกษาเรื่องชนิดของ  sentence แล้วพบว่า sentence มี 4 ชนิด ดังนี้ คือ ประโยคความเดียว (Simple Sentence) ประโยคความรวม (Compound Sentence) ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) และประโยคความผสม (Compound-Complex Sentence) ซึ่งถือว่ารูปแบบประโยคทั้ง 4 นี้มีความสำคัญยิ่งในการศึกษาภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และยังรวมไปถึงการแปลความหมายของรูปประโยคต่างๆ เพราะหากเราไม่มีความรู้ในเรื่องของรูปประโยคต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถทำให้เราแปลความของบทอ่านเหล่านั้นได้ หรืออาจจะแปลความหมายออกมาผิดๆ หรือไม่สามารถนำไปใช้ได้ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้รับสารหรือคนที่เราต้องการสื่อสารด้วยเกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้น ในการศึกษาภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาแม่นั้น เราจะต้องมีการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และละเอียดถี่ถ้วน ต้องมีความพยายามสูง และต้องมีความแม่นยำในการนำไปใช้ด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษผ่านทักษะต่างๆและการศึกษาหาข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมอยู่เสมอเช่นกัน ซึ่งในสัปดาห์นี้จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง If Clauses หรือ Conditional Sentences ซึ่งเป็นประโยคอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญมากและเรามักจะพบเจอบ่อยๆ ซึ่งเนื้อหาที่ได้ศึกษามาและทำความเข้าใจ มีดังนี้
If Clauses หรือ Conditional Sentences คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (conditions) หรือการสมมุติ ซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย conjunction “if” ประโยคที่นำหน้าด้วย if แสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า if-clause และประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้น เราเรียกว่า main clause
ตัวอย่างเช่น
- If it rains , I shall stay at home.
  (If-clause)  (main clause)

Conditional Sentences แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. TYPE ONE เป็นการสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ (possible condition)
หลักการใช้
A1. If + Present Simple, + Present Simple
ใช้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (natural laws) ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือการกระทำที่เป็นนิสัยของแต่ละบุคคล (habitual actions) โดยที่ข้อความเหล่านี้ จะเป็นข้อความทั่วๆ ไป (general statements) ซึ่งเป็นความจริงเสมอ และเมื่อเหตุการณ์แรกเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่สองจะเกิดขึ้นเสมอ
เช่น
- If water is heated, it boils.
- If ice is heated, it melts.
ประโยคเงื่อนไขดังกล่าวนี้ เราสามารถใช้ when/whenever แทน if ได้ ซึ่งมีความหมายเหมือนกันทั้ง 2 คำ เช่น
- If people are tired , they generally go to bed.
- Whenever people are tired , they generally go to bed.
- When people are tired , they generally go to bed.

A2. If + Present Simple, Imperative
ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าเหตุการณ์แรกเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่สองจะเกิดขึ้นตามมาด้วย เช่น
- If you see him, tell him to phone me.
- Don’t go outside the harbor if the wind is very strong.

B. If + Present Simple , Future
ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเฉพาะกรณี (specific statement)ซึ่งเหตุการณ์ที่สองจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แรก เช่น
- If George goes, he will get the medicine for you.
- If he comes, I will speak to him.

การใช้ Conditional Sentences Type One อื่นๆ
1. if………not = unless (ถ้าไม่) ในประโยคปฏิเสธ เรามักใช้ unless แทน มีรูปดังนี้
Unless + Present Simple , S + will/shall + V1
เช่น
If there is no rain, the flowers will die. = Unless there is some rain , the flowers will die.
-  Peter will miss the bus if he doesn’t run. = Peter will miss the bus unless he runs.
***ข้อควรจำ :  unless นั้นมีความหมายเป็นปฏิเสธ มาจาก if……not เพราะฉะนั้นในประโยค if-clause เมื่อใช้unless แล้วกริยาในประโยคนั้นจะต้องเป็นรูปบอกเล่าเสมอ

2. even if ซึ่งมีความหมายว่า ถ้าแม้ว่านั้นใช้เน้น if หมายความว่า ถ้าเผื่อว่าในประโยค if-clause ได้
เช่น
Even if you give me 10,000 baht , I won’t tell you.
– He never hurries even if he is very late.

3. ใช้ if + Present Simple และใน main clause ใช้กับกริยาช่วยอื่นๆ คือ may,must ,needn’t,ought to, should, can , be able to ได้ จะมีความหมาย ดังนี้
- may แสดงความหมายแสดงผลของเงื่อนไขที่เป็นลักษณะที่น่าจะเป็นเป็นไปได้ (possible result)
 (ปกติเราใช้ will /shall จะแสดงเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (certain result) เช่น
If he starts now , he will be in time. (certain result) แสดงผลของเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นแน่นอน
If he starts now , he may be in time. (possible result) แสดงผลของเงื่อนที่น่าจะเป็นไปได้
- must , ought to , should ให้ความหมายว่า ต้อง , ควรจะ
If you go out tonight, you must put a coat on.
If you go out tonight, you ought to (should) put a coat.
- ใช้ may , can ให้ความหมายเป็นการบอกอนุญาตให้ และการให้อนุญาต
If you are in a hurry , you can (may) take my car. (=permission)
If you go out tonight , you may (can) wear my coat. (=permission)
- ใช้ needn’t = ไม่จำเป็นต้อง
- If you go out tonight , you needn’t wear a coat.
- เมื่อ can มีความหมายว่า ความสามารถ (ability) เราจะใช้ will be able to เช่น
If you study hard, you’ll be able to speak English very well soon.

4. if + will ใช้เมื่อแสดงการแนะนำหรือขอร้องอย่างสุภาพ เช่น
If you’ll excuse my asking , how old are you?
If you’ll forgive my saying so, you are getting fat.

5. if + should ใช้เมื่อสิ่งสมมุตินั้นมีโอกาสเป็นจริงได้น้อยในอนาคต หรือผู้พูดไม่ค่อยแน่ใจว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ จงเปรียบเทียบ 2 ประโยคนี้
If you change your mind, I’ll gladly exchange it for you.
(= I don’t know whether you will or not. = ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่)
If you should change your mind, I’ll gladly exchange it for you.
(= It seems unlikely that you will change your mind = ไม่มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนใจ)

6. if + would like (would care) = wish / want (ใช้กับ if cluase type one เท่านั้น
– If you would like to come , I’ll get a ticket for you.
– If you would care to see some of our designs, I’ll show them on Monday.

Conditional Sentences “Without If”
การละรูป if ใน Type One สามารถทำได้ โดยใช้ should แทน if
- If you see Katty , tell her I want her.
= Should you see Katty , tell her I want her.
- If the weather is too bad, we won’t go for a picnic.
= Should the weather be too bad , we won’t go for a picnic.
 (ประโยคที่ใช้ if และ should ดังกล่าวนี้มีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยคที่ใช้ should นิยมใช้ในภาษาเขียน)

2. TYPE TWO เป็นการสมมติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย (doubt) แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (impossible condition)

โครงสร้าง
If + Past Simple , S + would + V1
1. If + S +were + to+V1 , S+ would + V1
2. Unless + Past Simple , S + would + V1
หลักการใช้
- ผู้พูดแสดงความสงสัยว่าเหตุการณ์ที่สมมติจะไม่เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นผลของการสมมติจะไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน เช่น
If I had money , I would go abroad. (=I don’t have money right now.)
– What would you do if you came top in the exam? (= I have a lot of doubt.)

- เมื่อพูดถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือจินตนาการ (Impossible and imaginary) เช่น
– What would you do if you saw a ghost?
If today were Sunday , I would be at home. (but today isn’t Sunday.)
(= Were today Sunday I would be at home.)

การละรูป if จะใช้กับกริยา were
If I were you , I would go to study abroad.
(=Were I you , I would go to study abroad.)
If I were a bird , I would fly all over the world.
(= Were I a bird , I would fly all over the world.)

หมายเหตุ เราใช้ were กับประธานที่เป็นทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น if I were , if he were , if she were, if they were , เป็นต้น เพราะเป็นการสมมติจากจินตนาการ แต่ถ้าใช้ was กับประธานเอกพจน์ก็ได้ เช่นกันเ ช่น If I was, ect….

นอกจาก would ที่ใช้ใน main clause แล้ว ยังมีกริยาช่วย should , might , couldที่สามารถใช้ใน conditional Type Two นี้ได้อีก แต่ความหมายแตกต่างกันออกไป
If she came , I should/would see her. (แสดงผลที่จะเกิดขึ้นตามสมมติ certain result)
If she came , I might see her. (แสดงการคาดคะเน possibility)

If it stopped snowing , he would go out. (certain result)
If it stopped snowing , you could go out. (permission , ability)

การใช้ Conditional Sentences Type Two อื่นๆ
- เราใช้ were to + V1 แทน Past Simple ใน if-clause เพื่อเน้นถึงการสมมติที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
If I passed the exam , he would be astonished.
If I were to pass the exam , he would be astonished.
ในประโยคทั้งสองข้างต้นนี้ มีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยคที่ใช้ were to นั้น ผู้พูดมิได้หวังว่าจะสอบผ่าน
- If he went , he would tell you first.
- If he were to to go , he would tell you first.
(were to goกล่าวถึงแผนการและการเสนอแนะ)
- การใช้ unless แทน if…not ใน Type Two
- She wouldn’t cry like that if she weren’t ill.
= She wouldn’t cry like that unless she were ill.
- I wouldn’t eat them if I didn’t like them.
= I wouldn’t like them unless I liked them.
- การใช้ would ใน Type Two
- เมื่อแสดงความรำคาญในกรณีที่ถูกรบกวน
– If you would stop singing , I would be able to study.
- ใช้ในจดหมายราชการ หรือจดหมายธุรกิจ
- I would be very grateful if you would pay your bill.
– We should appreciate it if you would fill in this form.

3. TYPE THREE เป็นการสมมติในอดีต แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต
โครงสร้าง
If + Past Perfect, S + would + have + V3
หลักการใช้
- If + Past Perfect, S+ would + V1 NOW ใช้กับเหตุการณ์สมมุติที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต ความเป็นจริงในอดีต:

- You didn’t go to the party last night.
- You didn’t meet your girlfriend.
สิ่งสมมุติ : If you had gone to the party last night , you would have met your girlfriend.
( = Had you gone to the party last night, you would have met your girlfriend.)(การละรูป if)

- I didn’t pass the exam last semester.
- I didn’t study hard.
สิ่งสมมุติ : I would have passed the exam last smester if I had studied hard.
(= Had I studied hard , I would have passed the exam last semester.)

****หมายเหตุ ****การสมมุติเหตุการณ์อาจเป็นการผสมผสานกันของเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันก็ได้ ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นแบบผสม (Mixed Type) กล่าวคือ การสมมุติเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับความจริงในอดีต ใช้ Type three และการสมมุติเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบันใช้ Type Two สังเกตโครงสร้างแบบนี้ นั่นคือ ประโยค if-clause เป็นเหตุการณ์สมมติในอดีต และ main clauseเป็นเหตุการณ์สมมุติในปัจจุบันดูตัวอย่างต่อไปนี้

Mixed Type
– If I had checked the oil in my car carefully yesterday , I wouldn’t be in trouble now.
 (นั่นคือ ความเป็นจริงในอดีตคือ I didn’t check the oil in my car yesterday และความจริงในปัจจุบันคือ I am in trouble now.)
- If I hadn’t gone to bed so late last night, I wouldn’t be tired today..
 (นั่นคือ ความเป็นจริงในอดีต คือ I went to bed so late last night.ความจริงในปัจจุบันคือ I am tired today.)

หมายเหตุ :
Conditional Sentences จะขึ้นต้นด้วยประโยค If-Clause หรือ Main Clause ก็ได้ เช่น
- If I had some money , I would go abroad.
= I would go abroad if I had some money.

หลังจากที่ได้มีการศึกษาเรื่อง If Clauses หรือ Conditional Sentences แล้วพบว่า If Clauses หรือ Conditional Sentences คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (conditions) หรือการสมมุติ ซึ่งสามารถแบ่งออกไปเป็น 3 ประเภท คือ type one คือ การสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ (possible condition) type two คือ การสมมติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย (doubt) แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (impossible condition) และ type three คือ การสมมติในอดีต แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต ซึ่ง If Clauses แต่ละประเภทก็มีโครงสร้างของประโยคและมีหลักการใช้ที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นยังมี การใช้คำอื่นๆ แทนคำว่า If ในประโยค If Clauses การละ If  และการผสมผสานของเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า mixed typeอีกด้วย ซึ่งก็ถือเป็นข้อควรจำที่มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะในบางกรณีการใช้ If อาจไม่เป็นที่นิยม หรือจำเป็นจะต้องใช้คำอื่นแทนเพื่อให้มีความหมายที่ดูดีขึ้น อีกทั้งยังมีหมายเหตุและข้อยกเว้นอีกมากมายที่เราจะต้องทำความเข้าใจและต้องสามารถจำให้ได้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ที่ถูกต้องด้วย ซึ่งหลังจากที่ได้มีการศึกษาแล้วปรากฏว่ามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อให้สามารถจำได้ดีนั้นจำเป็นต้องนำไปใช้บ่อยๆด้วยเช่นกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น