Learning
log : Eighth
6th
October, 2015
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่ได้มีการศึกษาเรื่อง If
Clauses หรือ Conditional Sentences แล้วพบว่า
If Clauses หรือ Conditional Sentences คือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (conditions) หรือการสมมุติ
ซึ่งสามารถแบ่งออกไปเป็น 3 ประเภท คือ type one คือ
การสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ (possible
condition) type two คือ การสมมติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย (doubt)
แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (impossible condition) และ type three คือ การสมมติในอดีต
แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต
ซึ่งดิฉันพบว่า
ดิฉันมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้นพอสมควรและพอที่จะสามารถนำความรู้เรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ในการแปลความหมายของประโยคซึ่งมีรูปแบบตาม
If Clauses ได้ แต่หลังจากที่ดิฉันได้ศึกษาอย่างดีแล้วพบว่า clause
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ independent
clause ซึ่งสามารถอยู่ได้อย่างอิสระด้วยตนเอง และ dependent
clause ซึ่งไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระด้วยตนเอง ต้องอาศัย independent
clause เสมอ ทั้งนี้ dependent clause
ประกอบไปด้วย noun clause, adjective clause และ adverb
clause ซึ่งสำหรับในส่วนของ adjective clause
ดิฉันได้ทำการศึกษาไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ ดิฉันต้องการศึกษาเรื่อง noun
clause เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากขึ้น และเพื่อพัฒนาทักษะการแปลของดิฉันอีกด้วย
เพราะถึงแม้ดิฉันจะพอมีความรู้เรื่องนี้อยู่แล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
ยังไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ ซึ่งเนื้อหาที่ได้ศึกษามาและทำความเข้าใจ มีดังนี้
noun clause คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนกับเป็นคำนามคำหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นประธานหรือกรรมก็ได้ โดยที่เราสามารถสังเกตได้จากคำที่ใช้นำหน้าเพื่อเชื่อมกับ
main clause คำที่ใช้นำหน้าดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ
- That
- Wh -words:
who, whoever, whom, whomever, whose, what, whatever, which, whichever,
where, wherever, when, whenever, why, how
- If/ Whether (… or not)
- that
that นำหน้า noun
clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า (affirmative statement)
หรือ
ประโยคปฏิเสธ ( negative
statement) ตัวอย่างเช่น
Affirmative statement
: That he will
come is certain.
Negative
statement: Jane replied that her boss would not be in tomorrow.
คำว่า that มีความหมายว่า “ การที่ ”
ในกรณีที่ noun clause เป็นประธานของคำกริยาใน main clause และ that
มีความหมายว่า “ ว่า ” ในกรณีที่ noun clause เป็นกรรม ดังในตัวอย่างข้างต้น
อนึ่ง
noun
clause ที่นำหน้าด้วย that มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน
การนำ that ไปวาง ข้างหน้า noun clause เป็นเพียงการเชื่อม noun
clause กับ main
clause
- การละคำนำหน้า that
that ที่นำหน้า noun
clause * ที่ทำหน้าที่บางหน้าที่ใน complex sentence สามารถจะละได้ในกรณี
ต่อไปนี้
กรณีที่ noun clause เป็น object
- We believe (that) he told the truth.
- The police assured us (that) the children would be found safe and sound.
- I wish (that) I would win the first prize.
กรณีที่ noun clause เป็น subject complement
- The reason is (that) he speaks English fluently.
- My opinion is (that) you'd better stay home.
ตามหลังคำคุณศัพท์
- I am sure (that) he can get a good job.
- They are afraid (that) they cannot catch the 6 o’clock train.
* ( ในกรณีที่ noun
clause เป็นประธาน ไม่ สามารถละ that ได้)
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้
that
appositive noun clause จะนำหน้าด้วย that เท่านั้นและไม่มีการละ that
- The news that she won
the beauty contest was published in all of the daily newspapers.
noun clause ที่นำหน้าด้วย that ที่ใช้ตามหลังคำบุพบทมีเป็นจำนวนน้อย
โดยที่คำบุพบทที่จะตามด้วย “that” clause มักตามหลังคำคุณศัพท์หรือคำกริยาที่แสดงความเหมือนกันหรือต่างกัน เช่น
similar, alike, different, differ
- John and his brother are alike in that they enjoy folk music.
- The two girls
differed in that one was quiet while the other was
talkative.
noun clause ที่นำหน้าด้วย that ไม่สามารถใช้เป็นกรรมรองหรือส่วนเสริมกรรมได้
that ที่นำหน้า noun clause ที่ทำหน้าที่ประธานของประโยค
สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยใช้ impersonal
pronoun “ it” นำหน้าประโยค
แล้วนำ noun clause ไปไว้ท้ายประโยคได้
- That he showed up at the party was a great surprise.
- It was a great
surprise that he showed up at the party.
- Wh -words
wh -words ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามข้อมูล
เช่น
- I doubt why you want statistical figures.
- wh-words ที่ใช้นำหน้า
noun clause จะมีหน้าที่บางประการใน noun clause ดังนี้
who, whoever, whom, whomever ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun
clause
- Whoever
wins must treat us to lunch.
- I want to know who he has chosen to marry.
whose คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามหลังบุพบทและส่วนเสริมประธาน ใน noun
clause
- I asked whose money was stolen.
- Tell me whose book you are reading.
- John doubted in whose
house Jane lives.
- I want to know whose book this
is.
what, whatever ทำหน้าที่เป็นประธาน
กรรม และส่วนเสริมประธานใน noun clause
- I'm afraid of what will happen after that.
- What
I did was acceptable.
- I want to know what her name is.
- You should give him whatever he likes.
which, whichever มักมีคำนามตามหลัง
โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause
- I don't know which brand is worth buying.
- It's half price for whichever book you buy.
- You can choose whichever you like.
where, when, why, how ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ใน noun
clause
:: where, wherever บอกสถานที่
- Where
he will stay has yet to be decided.
- You should ask him where he wants to stay.
- Wherever
you go is the right place for me.
:: when, whenever บอกเวลา
- You must find out when he is due to arrive at the airport.
- We are interested in when the conflict will be resolved.
- I don't care whenever he does that.
:: why บอกสาเหตุหรือเหตุผล
- Why
he went to China was not known.
- Nopadol told the teacher why he could not finish his assignment.
:: how บอกกิริยาอาการ
- Describe how you felt at that time.
- How he was
involved in the scandal needs to be investigated.
-
If/Whether (... or not)
ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามว่าใช่หรือไม่ if ใช้ได้เฉพาะนำหน้า noun
clause ที่เป็นกรรม เท่านั้น ส่วน whether ใช้ได้ทุกกรณี
- I wanted to know if/whether I could accompany him.
- He asked if/whether or not he could take a day off.
- There is no answer to whether the political turmoil will end soon.
- Whether our team will win or not depends on luck.
ข้อสังเกต whether จะมี or not ตามหลังทันที ต่อท้ายประโยค
หรือไม่มีก็ได้ แต่ if ไม่สามารถ มี or not ตามหลังทันทีได้
- I wonder whether or not the weather will be fine on the day of
our departure.
- I wonder if/whether the weather will be fine on the day of our
departure or not.
- I wonder if/whether the weather will be fine on the day of our
departure.
- หน้าที่ของ noun
clause
- เป็นประธานของกริยาในประโยค
-
Subject: That
the majority of people in developing countries live in dire poverty is
true.
- Subject: What he did was
a serious mistake.
- เป็นกรรมของกริยาในประโยค
-
Object: The government believes that the national economy will recover soon.
-
Object: She told me how I could raise more money for charity.
-
Indirect object: The man enjoyed
explaining his theory to whoever was interested in it.
- เป็นกรรมของบุพบท
-
Object of a preposition: The twins are
similar in that they love folk songs.
- Object of a preposition: The question of when
the election will be held will be answered by the Election Committee
tomorrow.
- เป็นส่วนเติมเต็มประโยคให้มีความสมบูรณ์
-
Subject complement: His ambition was that he wanted to become prime minister.
-
Subject complement: You are what you eat.
-
Object complement: People call him whatever they like.
- เป็นคำซ้อนของนามตัวอื่น
-
Appositive: The rumor that there is a serpent in the Mae Kong River may be
true.
แต่ noun clause ที่นำหน้าด้วย wh –words จะไม่อยู่ในตำแหน่งของ appositive
หลังจากที่ได้มีการศึกษาเรื่อง noun
clause พบว่า noun clause คือ
อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนกับเป็นคำนามคำหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นประธานหรือกรรมก็ได้
โดยที่เราสามารถสังเกตได้จากคำที่ใช้นำหน้าเพื่อเชื่อมกับ main clause คำที่ใช้นำหน้าดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ
That, Wh –words และ If/ Whether (… or not) ซึ่ง
noun clause แต่ละประเภทก็มีโครงสร้างของประโยคที่แตกต่างกันออกไป
แต่มีหน้าที่เหมือนกัน คือ เป็นประธานของประโยค เป็นกรรมของกริยา เป็นกรรมของบุพบท
เป็นส่วนขยาย และเป็นคำซ้อนของนามตัวอื่น นอกจากนี้
ในกรณีที่มีการขึ้นต้นอนุประโยคด้วย That เราก็ยังสามารถละ That ได้อีกด้วย ดังนั้นในการที่เราจะแปลเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น
เราจำเป็นจะต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการพิจารณาประโยคแต่ละประโยคว่าเป็นประโยคชนิดไหนและต้องสามารถตีความออกมาให้ได้ว่า
ประโยคแต่ละชนิดมีลักษณะพิเศษอย่างไร
เพราะหากมีการละสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะพิเศษของแต่ละประโยคเอาไว้และเราไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ก็จะทำให้เราไม่สามารถแปลความหมายของประโยคเหล่านั้นออกมาให้ดีได้
และยิ่งไปกว่านั้นในการแปลความหมายของภาษาที่สองมาเป็นภาษาแม่นั้น เราจะต้องใช้ทักษะการแปลให้สิ่งที่แปลออกมานั้นสั้น
กระชับ รัดกุม สละสลวย และไม่หลงเหลือความเป็นภาษาที่สองเอาไว้
ทั้งยังต้องแปลให้เหมือนกับการที่ผู้อ่านได้อ่านจากต้นฉบับที่ได้เขียนขึ้นมาจริงๆ
ไม่ใช่รู้สึกว่ากำลังอ่านฉบับแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น