วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (15th September, 2015)


การฝึกทักษะการฟัง2

ในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนไปแล้ว โดยดิฉันได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ดังนี้ การโพสต์ข้อความลงบน Facebook ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่ได้ประสบมา การเขียนบันทึกประจำวัน การเขียนสรุปความจากนิทานเรื่อง Rapunzel และการเขียนเรียงความเรื่อง My unforgettable childhood memory ซึ่งจากการฝึกทักษะด้วยวิธีการต่างๆเหล่านี้ ทำให้ดิฉันสามารถพัฒนาทักษะการเขียนได้ดีขึ้น มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องไวยากรณ์และทักษะในการเขียนมากขึ้น ดิฉันจึงคิดว่า ดิฉันต้องการที่จะฝึกพัฒนาทักษะทางภาษา ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเหล่านี้ ซ้ำไปซ้ำมา เพื่อให้มีความสามารถและมีทักษะที่ดีต่อการนำไปใช้ สำหรับในสัปดาห์นี้ ดิฉันจึงได้วนมาที่การฝึกทักษะการฟังอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการทบทวนความจำ และเพิ่มความสามารถในการฟังให้ดีขึ้น เพราะในการฝึกทักษะการฟังของดิฉันในรอบที่แล้ว ถึงแม้จะมีการพัฒนาขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดิฉันสามารถฟังสิ่งต่างๆได้เข้าใจทั้งหมดเสียทีเดียว และเหตุผลหลักที่ดิฉันต้องการฝึกทักษะการฟังเพิ่ม เพราะจากการที่ดิฉันได้ดูภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องวัน Halloween ในคาบเรียนของอาจารย์ Charles M. Fisher พบว่าดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องที่ได้ดูสักเพียงใด เพราะดิฉันยังฟังตัวละครพูดยังไม่รู้เรื่อง จึงทำให้ไม่ค่อยเข้าใจในเนื้อหาของภาพยนตร์ ทำให้ส่งผลต่อการเรียนในวิชานั้นด้วย จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ในสัปดาห์นี้ ดิฉันจึงได้ฝึกทักษะการฟังตั้งแต่วันที่ 15-21 กันยายน พ.ศ. 2558 ดังนี้

Learning log : Sixth (15th September, 2015)


Learning log : Sixth
15th September, 2015

การศึกษา หมายถึง กระบวนการส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย  อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง ส่วนการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ คือ  การที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสปะทะกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  สิ่งแวดล้อมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมทางขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่บุคคลปะทะแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการสอน คือ กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้ไปใช้ ให้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น    การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม ซึ่งทั้งสามอย่างนี้ ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นมาก โดยมีความสัมพันธ์กัน คือ ในการศึกษานั้นจะต้องมีผู้สอนโดยได้ทำการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันตอนนี้ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ประเทศไทยยังคงมีปัญหาอยู่ในหลายด้าน ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมความพร้อมและแก้ไขปัญหาของประเทศในทุกระบบ โดยเฉพาะระบบการศึกษาของไทยที่ยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านการบริหาร ด้านบุคลากร และรูปแบบการจัดการศึกษา เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และเพื่อให้ประเทศไทยมีคุณภาพเท่าเทียมกับประเทศอื่นๆในประชาคมอาเซียนได้ และที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อทำให้คนไทยมีคุณภาพที่ดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน 8th September, 2015


การฝึกทักษะการเขียน

ในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่าน โดยเริ่มจากการอ่านเรื่องต่างๆ ดังนี้ บทความเกี่ยวกับสุขภาพเรื่อง six health tips 1 บทความ นิทานเรื่อง The princess and the pea 1 เรื่อง อ่านข่าวเรื่อง Ultra violence in Laos sparks warning for football fans และสุดท้ายอ่าน passage เรื่อง Magnets and Electromagnets แล้วฝึกเติมคำที่เขาได้เว้นไว้เพื่อทดสอบความเข้าใจในการอ่าน พบว่าดิฉันสามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น และอ่านสื่อต่างๆได้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งสำหรับในสัปดาห์นี้ ดิฉันจึงต้องการฝึกทักษะการเขียน ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ดิฉันควรได้รับการพัฒนา เพราะดิฉันเป็นคนที่ไม่เก่งไวยากรณ์ ทำให้ไม่ค่อยชอบเขียนสิ่งต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะกลัวจะผิดไวยากรณ์ และกลัวคนที่เขาเห็นการเขียนของดิฉัน เขาจะเอาไปพูดได้ว่า เรียนเอกภาษาอังกฤษแต่กลับไม่มีความสามารถในการเขียนและเขียนผิดหลักไวยากรณ์ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจจะเป็นเพราะดิฉันคิดไปเองก็ได้ แต่ดิฉันก็ยังคงไม่กล้าที่จะเขียนสิ่งต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่ดี ดิฉันจึงได้รวบรวมความมั่นใจ ความรู้ และวางแผนการฝึกทักษะการเขียน ซึ่งดิฉันได้เริ่มฝึกทักษะการเขียนตั้งแต่วันที่ 8-14 กันยายน พ.ศ. 2558 ดังนี้

Learning log: Types of sentence (1st September, 2015)


Learning log: Types of sentence
1st September, 2015

ในสัปดาห์ที่แล้วได้มีการศึกษาในเรื่องของ tense ซึ่งมีความสำคัญมาก ในการเรียนภาษาอังกฤษเพราะหากเราไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เราจะไม่สามารถเรียนรู้ได้เข้าใจและไม่สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้ เพราะ tense ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ และยังมีโครงสร้างทางภาษาแตกต่างจากภาษาไทยมากจึงทำให้คนไทยเข้าใจในเรื่องนี้ได้ยาก นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกันที่จำเป็นจะต้องศึกษาให้เข้าใจนั่นคือ เรื่อง sentences เพราะในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาการแปล เรามักจะต้องพบเจอประโยคต่างๆมากมายหลายประเภท ทั้ง ประโยคความเดียว (Simple Sentence) ประโยคความรวม (Compound Sentence) ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) และประโยคความผสม (Compound-Complex Sentence) ซึ่งมีทั้งที่แบบไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย สามารถตีความหรือแปลความหมายได้เลย และยังมีแบบที่ซับซ้อน ซึ่งมีการรวม clause ต่างๆเข้าด้วยกันโดยใช้ตัวเชื่อมเข้ามาเชื่อมประโยคทั้งสองหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน จึงทำให้ประโยคมีความยาวขึ้น และเข้าใจยากขึ้น ทั้งยังยากในการแปลความหมายด้วย แต่หากเราไม่มีความรู้ในเรื่องของรูปประโยคต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถทำให้เราแปลความของบทอ่านเหล่านั้นได้ หรืออาจจะแปลความหมายออกมาผิดๆ ส่งผลให้ผู้รับสารหรือคนที่เราต้องการสื่อสารด้วยเกิดความเข้าใจผิดได้ ซึ่งเนื้อหาที่ได้ศึกษามาและทำความเข้าใจ มีดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (1st September, 2015)


การฝึกทักษะการอ่าน

ในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ฝึกทักษะการพูด โดยเริ่มจากการเรียนรู้การออกเสียงคำศัพท์ที่มีความคล้ายคลึงกันซึ่งคนไทยมักเข้าใจผิดและออกเสียงไม่ถูกต้อง 2 คลิป การฝึกออกเสียงประโยคพื้นฐาน 30 ประโยคอีก 1 คลิป การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ 1 คลิป และการพูดตามบทสนทนาต่างๆอีก 3 คลิป  พบว่าดิฉันสามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น มีความมั่นใจในการพูดมากขึ้นและไม่เขินอายอีกต่อไป เพราะดิฉันได้ทดสอบความสามารถของตัวเองโดยการโทรไปคุยกับเพื่อนชาวต่างชาติผ่าน Facebook ซึ่งสำหรับในสัปดาห์นี้ ดิฉันจึงต้องการฝึกทักษะการอ่าน ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ดิฉันควรได้รับการพัฒนา เพราะดิฉันเป็นคนที่รู้จักคำศัพท์น้อย จึงทำให้อ่านบทความต่างๆไม่ค่อยเข้าใจ ต้องนั่งแปลศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้ต้องใช้เวลานานมากในการอ่าน นอกจากนี้ดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจรูปประโยครูปแบบต่างๆที่มีความซับซ้อนมากด้วย จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการทำความเข้าใจบทความที่อ่านด้วยเช่นกัน จากปัญหาข้างต้นนั้นทำให้ดิฉันไม่สามารถอ่านบทความต่างๆได้เข้าใจ เพราะไม่สามารถแปลความหมายของบทอ่านนั้นออกมาได้ จึงเป็นเหตุให้ดิฉันไม่ชอบอ่านบทความต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษ มักจะหาบทความที่ถูกแปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยไว้แล้วมากกว่า ซึ่งดิฉันได้เริ่มฝึกทักษะการอ่านตั้งแต่วันที่ 1-7 กันยายน พ.ศ. 2558 ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log 1st September, 2015


Learning log
1st September, 2015

สังคมในอดีตผู้คนมักจะรักใคร่กลมเกลียวและรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เมื่อเกิดปัญหาก็หันหน้าเข้าหากันเพื่อตกลงทำความเข้าใจและให้อภัยแก่กัน จึงส่งผลให้ผู้คนในอดีตมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและมีฐานะที่ดี ถึงแม้จะมีการศึกษาน้อยและมีสังคมที่อาจจะยังไม่ได้รับการพัฒนาไปมากก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากสังคมในปัจจุบันโดยสิ้นเชิง ทั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความเจริญก้าวหน้าไปมาก ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การปกครอง การคมนาคมขนส่งและการศึกษา แต่ผู้คนในสังคมกลับเห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิงดีกัน และยังเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักของสังคมในปัจจุบัน จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้คนในปัจจุบันมีเพียงความรู้ความสามารถแต่ไร้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งการที่ผู้คนจะเป็นเช่นนี้ได้นั้น เราจำเป็นต้องย้อนไปดูสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ จึงได้มีการย้อนจากหน่วยเล็กไปยังหน่วยใหญ่ คือเริ่มศึกษาจากตัวบุคคล ทั้งด้านพื้นฐานส่วนตัวในเรื่องครอบครัว และชุมชน จากนั้นจึงดูไปที่ครูผู้สอนและระบบการศึกษา เพราะมักมีคนกล่าวไว้ว่า การศึกษาขัดเกลาบุคคลให้เป็นคนที่ดีขึ้นได้ แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะการศึกษาของไทยนั้นมักถูกควบคุมโดยรัฐบาล นั่นจึงจำเป็นต้องย้อนไปถึงระบบการปกครองนั่นเอง ดังนั้นจึงได้ยกปัญหาเหล่านี้มาเขียนจากหน่วยใหญ่ไปสู่หน่วยย่อยเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log (18th August, 2015)

                                                                    Learning log 
(18th August, 2015)


ในการเรียนภาษาอังกฤษ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานทางภาษาเป็นอย่างมาก เพราะเนื้อหาทางภาษาอังกฤษค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน เพราะโครงสร้างทางภาษาอังกฤษแตกต่างจากภาษาไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการศึกษาภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ภาษาอังกฤษยังเป็นวิชาที่ต้องใช้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป นั่นคือ ผู้เรียนต้องมีความรู้ทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษคือ ศัพท์และไวยากรณ์ และยังประกอบไปด้วย  structure , meaning และ phonology และผู้เรียนยังต้องมีทักษะทางภาษา คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ในภาคทฤษฎีไปใช้ได้ แต่สิ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุดสำหรับคนไทย คือ   tense (กาล) เพราะในโครงสร้างทางภาษาอังกฤษ กริยาของประโยคจะเปลี่ยนไปตามกาลและประธานของประโยค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีในภาษาไทย ดังนั้น การจะศึกษาภาษาอังกฤษให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และสามารถแปลความหมายของภาษาอังกฤษได้ถูกต้องตรงตามโครงสร้างภาษาเดิมนั้น ผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ tense ให้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อการนำไปใช้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
Tense คือ รูปกริยาที่แสดงให้เราทราบว่า การกระทำต่างๆ หรือเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด โดยที่รูปกริยาจะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น