Learning Log
11th August , 2015
การเรียนภาษานั้นมีความแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ
เป็นส่วนใหญ่ตรงที่ ต้องมีความรู้ควบคู่ไปกับทักษะ
นั่นคือต้องใช้ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีควบคู่กันไป
ไม่สามารถแยกอย่างใดอย่างหนึ่งออกจากการกันได้
เพราะหากผู้เรียนมีเพียงความรู้แต่ไม่มีทักษะก็ไม่สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ได้ถูกต้อง
เพราะในสถานการณ์จริงนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ในทางกลับกันหากผู้เรียนมีเฉพาะทักษะแต่ไม่มีความรู้ก็ไม่สามารถใช้งานได้ถูกต้องเช่นกัน
เพราะบางครั้งการที่เรานำไปใช้ได้แต่ไม่ถูกต้องนั้นจะทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจ
ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผล เพราะฉะนั้นผู้เรียนจะต้องให้ความสำคัญทั้งในภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีเท่าๆกัน
เนื้อหาทางภาษาอังกฤษเป็นเนื้อหาที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก
ฉะนั้นผู้เรียนต้องมีความพยายามอย่างมากในการทำความเข้าใจ
เพราะเราไม่สามารถมองข้ามจุดใดจุดหนึ่งไปได้เลย ซึ่งเนื้อหาทางภาษาอังกฤษที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของผู้เรียนภาษา
คือ ศัพท์และไวยากรณ์ ซึ่งเมื่อเราได้เรียนรู้เนื้อหาแล้วนั้น
เราจะต้องคอยประเมินตนเองเป็นระยะๆว่าเรามีความรู้มากน้อยเพียงใด
ซึ่งสามารถทำได้โดยการฝึกฝนนั่นก็คือการฝึกทักษะทางภาษานั่นเอง
ทักษะทางภาษาอังกฤษมีทั้งหมด
4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
ซึ่งการที่ผู้เรียนจะเกิดทักษะเหล่านี้ได้นั้นจะต้องหมั่นฝึกฝนอยู่บ่อยๆ ดังนี้
การฝึกทักษะทางการฟัง สามารถทำได้โดยการฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษสั้นๆทางอินเตอร์เน็ต
การฟังข่าวจากวิทยุและโทรทัศน์ หรือการฟังเพลงก็ช่วยได้มาก
นอกจากนี้การดูภาพยนตร์โดยการฟังเสียงพากย์ภาษาอังกฤษและอ่านคำแปลภาษาไทยก็ช่วยทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้น
การฝึกทักษะการพูด ผู้เรียนจะต้องฝึกพูดบ่อยๆ โดยอาจเริ่มจากการพูดกับเพื่อน
ซึ่งจะต้องมีความกล้าที่จะพูด ก็จะทำให้เราสามารถพูดได้คล่องขึ้น
การฝึกทักษะการอ่าน อาจเริ่มจากการอ่านข้อความ การอ่านหนังสือพิมพ์
และพัฒนาไปจนถึงการอ่านหนังสือ ส่วนการฝึกทักษะการเขียน
ควรเริ่มจากการเขียนบันทึกประจำวัน ทุกๆวัน แล้วจึงพัฒนาไปสู่การเรียนเรียงความ
ซึ่งเมื่อเราได้ฝึกทักษะทั้งหมดนี้แล้ว เราก็จะทราบถึงข้อบกพร่องของตัวเราเองและนำไปสู่การแก้ไข
ปรับปรุง
เมื่อผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆทางภาษาจะทำให้ทราบข้อบกพร่องของตน นั่นหมายถึง ผู้เรียนทราบ background knowledge ของตนเองแล้วว่ามีมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนก็จะต้องแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาปัญหาเหล่านั้นจนทำให้ข้อบกพร่องเหล่านั้นหมดไป โดยการตั้งเป้าหมายของความสำเร็จไว้ว่าภายในระยะเวลาเท่าใด ผู้เรียนจะสามารถเกิดทักษะใดขึ้น เช่น เช่น ภายใน 1 ปี สามารถชมข่าวภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ได้เข้าใจจนสามารถสรุปสาระสำคัญของเนื้อข่าวได้ หรือภายใน 6 เดือน สามารถสนทนาขั้นพื้นฐานกับชาวต่างชาติได้ แล้วจึงทำตามแผนที่วางไว้ให้เต็มศักยภาพ โดยก้าวไปทีละขั้นๆ ตามตัวขั้นการเรียนรู้ ซึ่งในการฝึกทักษะนี้ เนื้อหาถือว่ามีความจำเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะได้อย่างถูกต้อง และแน่นอนว่าผู้เรียนไม่สามารถจำเนื้อหาทั้งหมดได้ และบางครั้งเนื้อหาเหล่านั้นอาจเข้าใจได้ยาก ดังนั้นผู้เรียนอาจนำเนื้อหาเหล่านั้นมาสรุปความหรือถอดความเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
การสรุปความ คือ การสรุปโดยที่ผู้สรุปความจะต้องหาใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่าคืออะไร
หลังจากนั้นจึงหาข้อมูลที่เป็นส่วนปลีกย่อยที่สนับสนุนใจความสำคัญ
โดยที่จะต้องทราบว่าใคร ทำ อะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วจึงนำมามาเรียงร้อยกัน ส่วนการถอดความ
เป็นการกล่าวซ้ำข้อความของผู้อื่นโดยใช้ภาษาของตัวเองถอดความออกมาอย่างคร่าวๆแต่เนื้อหาจะยังคงอยู่ในระดับเดียวกัน
นั่นคือ เนื้อหายังคงอยู่ในเรื่องเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไป
แล้วในการสรุปความและถอดความนี้ผู้ทำจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปเขียน
ซึ่งการเขียนที่ทำให้เราเข้าใจได้มากที่สุด คือ การเขียนแบบ Academic
Writing
การเขียนแบบ Academic Writing คือการเขียนซึ่งประกอบไปด้วย
องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ introduction, body และ conclusion ซึ่งเริ่มจากส่วนของ introduction
คือการเกริ่นนำเรื่องราวโดยรวมเพื่อจะชักนำไปสู่เนื้อหาซึ่งจะอยู่ในส่วนของ body สำหรับส่วนของ body
จะมีกี่ย่อหน้าก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อหาที่มี
แต่ในแต่ละย่อหน้าจะต้องประกอบไปด้วย introduction, body และ
conclusion เช่นกัน และใน conclusion
ของแต่ละย่อหน้านั้น จะต้องเชื่อมโยงไปสู่ย่อหน้าถัดไป สุดท้ายในส่วนของ conclusion จะต้องเป็นการสรุปความของเนื้อหาทั้งหมด
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในการเรียนภาษาจะต้องมีการเรียนที่เชื่อมโยงกันหมดทุกด้าน
ทั้งด้านความรู้และทักษะที่จะต้องมีควบคู่กันไป
ซึ่งความรู้พื้นฐานของภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องรู้และเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง คือ
ศัพท์และไวยากรณ์ เมื่อผู้เรียนมีความรู้แล้วนั้น จะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้นั้นต้องฝึกฝนด้วยทักษะทั้ง
4 คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
เมื่อผู้เรียนได้ฝึกทักษะแล้วนั้นจะทำให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงข้อบกพร่องของตนเอง
และจะนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นให้หมดไป ทั้งการตั้งเป้าหมายและทำตามแผนที่วางไว้
และการจดจำความรู้ให้แม่นยำโดยการสรุปความและถอดความแบบ Academic Writing เพื่อให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายขึ้น
จึงสามารถสรุปได้ว่าหากผู้เรียนมีความพยายาม
ให้ความสนใจ และใส่ใจในการเรียนภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะต้องใช้เวลา
แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น