วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การศึกษานอกห้องเรียน (25th August, 2015)


การฝึกทักษะการพูด

ในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังโดยการฟังเพลง ฟังบทสนทนา และการดูหนังไปแล้วซึ่งถือว่ามีการพัฒนาทักษะทางด้านการฟังที่ดีขึ้น เพราะดิฉันสามารถฟังสำเนียงอเมริกันได้เข้าใจมากขึ้น และฟังการพูดหรือเพลงที่เร็วๆได้มากขึ้น ซึ่งนั่นคือก้าวแรกของการฝึกทักษะ และต่อมาในสัปดาห์นี้ ดิฉันจึงคิดว่าดิฉันจะฝึกทักษะการพูด ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเช่นกันในการสื่อสาร เพราะในการเรียนภาษาอังกฤษและในชีวิตประจำวันเราจำเป็นจะต้องพบเจอและพูดคุยกับชาวต่างชาติมากมาย แต่ทักษะทางด้านการพูดของดิฉันยังอ่อนมาก เพราะดิฉันไม่ค่อยเก่งหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษจึงทำให้ไม่มีความกลัวและเขินอายในการพูดคุยภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ ทั้งนี้ดิฉันยังไม่ค่อยมีโอกาสได้พูดคุยกับชาวต่างชาติอีกด้วย และนอกจากนี้ดิฉันยังกลัวผิด กลัวเสียหน้า และกลัวเขาไม่เข้าใจ ซึ่งถือเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะถึงแม้ว่าเราจะไม่ค่อยเก่งหลักไวยากรณ์แต่เราก็สามารถพูดคุยภาษาอังกฤษได้ และถึงแม้ว่าชาวต่างชาติจะไม่เข้าใจ แต่เขาก็จะพยายามทำความเข้าใจหรือช่วยแนะนำให้เราพูดได้ถูกต้อง ซึ่งดิฉันได้เริ่มฝึกทักษะการพูดตั้งแต่วันที่ 25-31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ดังนี้
ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการพูดด้วยการฟังและพูดตามคลิปวิดีโอที่มีชื่อว่า “Click [by Mahidol] Pronunciation Part 2 (1/2) พูดภาษาอังกฤษให้ชาวต่างชาติเข้าใจ”  จาก https://www.youtube.com/watch?v=ZNCZF7CMz70  ซึ่งในคลิปนี้เป็นการสอนออกเสียงคำศัพท์ที่ออกเสียงคล้ายกัน

การศึกษานอกห้องเรียน(18th August, 2015)


การฝึกทักษะการฟัง

ในการเรียนภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาแม่นั้น เราจำเป็นต้องพยายามในการเรียนมากกว่าการเรียนปกติ เพราะภาษาเหล่านั้นย่อมมีความแตกต่างจากภาษาแม่มาก ซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งอันดับแรกที่เราจะต้องศึกษานั่นคือ โครงสร้างทางภาษา ทั้งคำศัพท์ วลี และรูปประโยค รวมไปถึงกาล (tense) ในภาษาอังกฤษ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการเรียนภาษา และเมื่อเราเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้แล้วนั้น เราจำเป็นต้องนำความรู้ทางทฤษฎีเหล่านั้นที่เรามีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเราจะต้องใช้ทักษะทั้ง 4 ในการนำไปใช้ นั่นคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน แต่จะเห็นได้ว่า การศึกษาของไทยและสภาพแวดล้อมในประเทศไทย ไม่เอื้อต่อการฝึกทักษะเท่าไร เราจึงจำเป็นต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด  ซึ่งจากการที่ดิฉันได้สำรวจตนเองแล้วพบว่า ดิฉันยังอ่อนทักษะทางภาษาในทุกด้านที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งดิฉันได้ตัดสินใจเริ่มพัฒนาทักษะจากการฟัง เพราะการฟังเป็นพื้นฐานทางการฝึกทักษะทางภาษาและนำไปสู่การฝึกทักษะอื่นๆต่อไป ซึ่งดิฉันได้เริ่มฝึกทักษะตั้งแต่วันที่ 18-24 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ดังนี้
ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังโดยการฟังเพลงภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า   A thousand years ของศิลปินชื่อว่า Christina Perri ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์  Twilight  เพลงนี้เป็นเพลงที่ฟังง่าย เพราะเป็นเพลงช้า และคำศัพท์ในเพลงก็ง่าย ทำให้สามารถเข้าใจเนื้อเพลงได้ดี และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังฝึกทักษะการ

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา


ในปัจจุบันถือว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษามาตรฐานที่มีการใช้ในการสื่อสารติดต่อระหว่างกันทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยจึงมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆมากมาย มีความหลากหลายและมีการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีทั้ง โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนสามภาษา และยังมีสถาบันกวดวิชาต่างๆที่เน้นการสอนภาษาอังกฤษซึ่งผุดขึ้นมาเยอะยิ่งกว่าดอกเห็ด รวมไปถึง โปรแกรมการเรียน “ภาคอินเตอร์” ที่สอนวิชาอื่นๆเป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน เพราะเชื่อว่าหากผู้เรียนได้เรียนเป็นภาษอังกฤษมากเพียงใด ก็จะสามารถเรียนรู้ เข้าใจและเก่งภาษาอังกฤษมากเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษานอกระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอีกไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปหรือผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม รวมทั้งผู้ที่ต้องการเรียนรู้ที่บ้านได้เรียนภาษาอังกฤษอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทยก็ยังคงมีปัญหามาจนถึงทุกวันนี้
ถึงแม้จะมีการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไปมากเพียงใดก็ตาม แต่คุณภาพในเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาที่คาราคาซัง ไม่สามารถแก้ไขได้มาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน หรือแปล ในขั้นที่ใช้การได้จริงได้ อาจจะกล่าวได้ว่า แม้ในระดับพื้นฐาน ผู้เรียนของไทย ก็ยังไม่มีความรู้ขั้นนี้มากพอ ยังไม่สามารถเอาตัวรอดได้ จนทำให้ผู้คนมากมายกล่าวว่า ผู้เรียนในปัจจุบันอ่อนภาษามากกว่าผู้คนในยุคก่อน ทั้งที่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ภาษาได้ดีกว่า เพราะมีเทคโนโลยีต่างๆที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และยังมีโอกาสได้พบเห็นและใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าสมัยก่อน เมื่อได้มองไปยังปัญหาของการเรียนภาษาอังกฤษแล้วนั้น ผู้คนส่วนใหญ่มักวิพากษ์วิจารณ์และมั่งประเด็นไปที่ปัจจัยภายนอก ดังนี้
   

Learning Log 11th August , 2015

Learning Log
11th August , 2015

                         การเรียนภาษานั้นมีความแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ตรงที่ ต้องมีความรู้ควบคู่ไปกับทักษะ นั่นคือต้องใช้ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีควบคู่กันไป ไม่สามารถแยกอย่างใดอย่างหนึ่งออกจากการกันได้ เพราะหากผู้เรียนมีเพียงความรู้แต่ไม่มีทักษะก็ไม่สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ได้ถูกต้อง เพราะในสถานการณ์จริงนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในทางกลับกันหากผู้เรียนมีเฉพาะทักษะแต่ไม่มีความรู้ก็ไม่สามารถใช้งานได้ถูกต้องเช่นกัน เพราะบางครั้งการที่เรานำไปใช้ได้แต่ไม่ถูกต้องนั้นจะทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจ ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผล เพราะฉะนั้นผู้เรียนจะต้องให้ความสำคัญทั้งในภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีเท่าๆกัน
                         เนื้อหาทางภาษาอังกฤษเป็นเนื้อหาที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ฉะนั้นผู้เรียนต้องมีความพยายามอย่างมากในการทำความเข้าใจ เพราะเราไม่สามารถมองข้ามจุดใดจุดหนึ่งไปได้เลย ซึ่งเนื้อหาทางภาษาอังกฤษที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของผู้เรียนภาษา คือ ศัพท์และไวยากรณ์ ซึ่งเมื่อเราได้เรียนรู้เนื้อหาแล้วนั้น เราจะต้องคอยประเมินตนเองเป็นระยะๆว่าเรามีความรู้มากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถทำได้โดยการฝึกฝนนั่นก็คือการฝึกทักษะทางภาษานั่นเอง
                         ทักษะทางภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งการที่ผู้เรียนจะเกิดทักษะเหล่านี้ได้นั้นจะต้องหมั่นฝึกฝนอยู่บ่อยๆ ดังนี้ การฝึกทักษะทางการฟัง สามารถทำได้โดยการฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษสั้นๆทางอินเตอร์เน็ต การฟังข่าวจากวิทยุและโทรทัศน์ หรือการฟังเพลงก็ช่วยได้มาก นอกจากนี้การดูภาพยนตร์โดยการฟังเสียงพากย์ภาษาอังกฤษและอ่านคำแปลภาษาไทยก็ช่วยทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้น การฝึกทักษะการพูด ผู้เรียนจะต้องฝึกพูดบ่อยๆ โดยอาจเริ่มจากการพูดกับเพื่อน ซึ่งจะต้องมีความกล้าที่จะพูด ก็จะทำให้เราสามารถพูดได้คล่องขึ้น การฝึกทักษะการอ่าน อาจเริ่มจากการอ่านข้อความ การอ่านหนังสือพิมพ์ และพัฒนาไปจนถึงการอ่านหนังสือ ส่วนการฝึกทักษะการเขียน ควรเริ่มจากการเขียนบันทึกประจำวัน ทุกๆวัน แล้วจึงพัฒนาไปสู่การเรียนเรียงความ ซึ่งเมื่อเราได้ฝึกทักษะทั้งหมดนี้แล้ว เราก็จะทราบถึงข้อบกพร่องของตัวเราเองและนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง